วิธีลงสินค้าแบบ External/Affiliate product ใน WooCommerce

สำหรับผู้ที่ขายสินค้าบนเว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน WooCommerce แล้วมีสินค้าแบบ External หรือ Affiliate ที่ต้องการขาย สามารถตั้งค่าได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ลำดับต่อไปจะเป็นการนำสินค้าแบบ External/Affiliate product สำหรับขั้นตอนในการทำมีดังนี้ เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการปรับขนาดรูป คลิกที่ Products คลิกที่ Add new product ใส่รายละเอียดข้อมูลสินค้าที่ต้องการเพิ่มให้เรียบร้อย จากนั้นให้เลือก Product data เป็น External/Affiliate product กรอกข้อมูล Affiliate product ที่ต้องการเพิ่ม คลิกที่ Publish ระบบจะแจ้งว่าได้เผย publish สินค้าดังกล่าวแล้ว ตัวอย่างสินค้าที่แสดงบนหน้าเว็บ

การใช้งานสิทธิ์ใน Shared Drive

ในการจัดการไฟล์และข้อมูลที่แชร์ใน Shared Drive ของ Google Drive, ผู้ดูแล (Manager) สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของสมาชิกแต่ละคนได้ ซึ่งช่วยให้การจัดการสิทธิ์การใช้งานไฟล์ใน Shared Drive เป็นไปอย่างมีระเบียบและปลอดภัยมากขึ้น สิทธิ์ที่สามารถกำหนดได้ใน Shared Drive มี 4 ระดับหลัก ๆ ได้แก่ Viewer, Commenter, Contributor, และ Manager. การเลือกสิทธิ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 1. Viewer (ผู้ดู) 2. Commenter (ผู้แสดงความคิดเห็น) 3. Contributor (ผู้มีส่วนร่วม) 4. Manager (ผู้จัดการ) จากที่กล่าวมาด้านบน เราสามารถสรุปสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละระดับได้ดังตาราง ต่อไปนี้ * ใน Google Drive สำหรับเดสก์ท็อปหรือไฟล์ในแอปไฟล์ของ Chrome OS การให้สิทธิ์เข้าถึงแบบ […]

การเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive ใน Google Drive

การเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Team Drive) เป็นวิธีที่ช่วยให้ทีมงานหรือองค์กรสามารถร่วมกันจัดการไฟล์ใน Google Drive ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น โดยแต่ละสมาชิกสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ใน Shared Drive ตามสิทธิที่ได้รับจากผู้ดูแล สำหรับขั้นตอนการเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive ใน Google Drive มีขั้นตอนดังนี้ Login เข้าสู่ระบบของ Google ด้วยบัญชี Google Workspace หรือ Gmail ที่คุณใช้งานอยู่ ไปที่ Google Apps คลิกที่ไอคอน “Drive” เลือก Shared Drive ที่คุณต้องการเพิ่มสมาชิกเข้าไป จากตัวอย่างนี้ขอเลือกเป็น Shared Drive 2 คลิกขวาที่ Shared Drive ที่คุณต้องการเชิญสมาชิก หรือคลิกที่ สามจุด (More […]

วิธีสร้าง Shared Drive ใน Google Drive อย่างง่ายๆ

การใช้ Shared Drive เป็นวิธีในการจัดการและแชร์ไฟล์กับทีมงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไฟล์ที่อยู่ใน Shared Drive จะไม่ถูกลบหากผู้ที่อัปโหลดไฟล์ออกจากองค์กรหรือไม่ได้เป็นสมาชิกของ Google Drive นั้นๆ สำหรับวิธีการสร้าง Shared Drive ใน Google Drive สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้: Login เข้าสู่ Google ด้วยบัญชีของคุณ จากนั้นไปที่ Google Apps คลิกที่ไอคอน “Drive” ที่เมนูด้านซ้ายให้คลิกที่ “Shared drives” จากนั้นให้คลิกที่ “+New” ตั้งชื่อ Shared Drive (คลิกที่นี่เพื่อดู คำแนะนำในการตั้งชื่อ Shared drive) ที่สร้าง เมื่อตั้งชื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ “Create” Shared drive ที่สร้างขึ้นจะปรากฏตามตัวอย่างในภาพที่แสดงด้านล่าง การสร้าง Shared Drive ช่วยให้สามารถจัดการและแชร์ข้อมูลได้ง่ายขึ้นในทีม โดยให้สมาชิกในทีมเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและมีสิทธิ์ที่เหมาะสม

การตั้งชื่อ Shared Drive

การตั้งชื่อ Shared Drive (ไดรฟ์ที่แชร์) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถจัดระเบียบข้อมูลและทำให้ทีมสามารถค้นหาหรือใช้งานได้สะดวกมากขึ้น คำแนะนำในการตั้งชื่อ Shared Drive มีดังนี้: 1. ทำให้ชื่อสื่อความหมาย 2. ใช้คำที่เข้าใจง่าย 3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัวหรือความลับในชื่อ 4. รักษาความสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กร 5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิเศษหรือสัญลักษณ์ 6. ทำให้ชื่อสั้นและกระชับ 7. ใช้คำนำหน้าเพื่อแยกหมวดหมู่ ตัวอย่างการตั้งชื่อ Shared Drive: การตั้งชื่อที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลและทำให้ทีมสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น

HTML Div Element

<div> Element ใช้สำหรับระบุ Element อื่นๆ ที่ต้องการในพื้นที่หนึ่ง <div> Element <div> เป็น Element แบบบล็อกที่เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งหมายความว่า Element นี้ใช้ความกว้างทั้งหมดที่มีอยู่ และมีการแบ่งบล็อกกันระหว่างบรรทัดก่อนและหลังของ Element นี้ ตัวอย่าง Element <div> ไม่มี Attribute ที่จำเป็นต้องระบุ แต่สามารถใช้ Attribute style, class และ id ได้ เนื่องจากเป็น Attribute ทั่วไป <div> เป็น Container Element <div> ใช้เพื่อจัดกลุ่มส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บ ตัวอย่าง จัดกลางใน <div> Element การจัดตำแหน่งของ Element อื่นๆ ภายใน <div> […]

การตั้งค่า Font การส่งอีเมล ในเว็บเมล Roundcube

บริการอีเมล Roundcube นี้เป็นบริการฟรีสำหรับลูกค้าที่ใช้งานบริการโฮสติ้งของโฮสอะตอม ซึ่ง Roundcube เป็นโปรแกรม Webmail แบบ Open Source หากใครที่ใช้งาน Webmail Roundcube ต้องการเปลี่ยน Font หรือขนาดตัวอักษร ก็สามารถทำได้ หมายเหตุ: คู่มือนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการตั้งค่าให้ส่งอีเมลด้วย Font แบบนี้ทุกครั้ง ซึ่งไม่ต้องปรับหรือแก้ไข Font ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล สำหรับขั้นตอนการตั้งค่า มีขั้นตอนการทำ ดังนี้ ทำการ Login เข้าสู่ Webmail ซึ่งสามารถดูขั้นตอนการ Login ได้ที่ วิธี Login เข้าใช้งาน Roundcube Webmail เมื่อเข้าสู่หน้าเมล ที่เมนูด้านซ้ายคลิกที่ Settings => Preferences => Composing Messages ที่ Default font […]

วิธีการ Recall email ใน Microsoft 365

Recall email หมายถึง การเรียกอีเมลคืน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ดึงอีเมลที่ส่งไปแล้วกลับมา เพื่อไม่ให้ผู้รับเห็นอีเมลฉบับที่ส่งไป ซึ่งการที่จะทำการ recall mail นี้จะทำเมื่ออีเมลไปผิดคน หรือเนื้อหาอีเมลยังเขียนไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ และผู้ส่งไม่ต้องการให้ผู้รับเห็นอีเมลฉบับนั้น หมายเหตุ -วิธีนี้จะทำในกรณีที่เพิ่งส่งอีเมลนะคะ หากส่งนานแล้วจะไม่สามารถทำได้ ใน Microsoft 365 นั้นก็มีการ Recall email เหมือนกัน แต่ก่อนอื่นจะต้องไปตั้งกำหนดเวลาในการยกเลิก Recall email ก่อน โดยสามารถเข้าไปกำหนดเวลาในยกเลิกก่อน โดยมีขั้นตอนการทำ ดังนี้ Login เข้าสู่ Outlook บนเว็บไซต์ โดยพิมพ์ URL: https://www.outlook.com/ จากนั้นคลิกที่ Sign in จากนั้นใส่ชื่อบัญชีอีเมลของคุณ จากนั้นคลิกปุ่ม Next ใส่รหัสผ่าน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Sign in […]

วิธีกำหนดวันหมดอายุให้กับ service plan ใน Plesk

สำหรับผู้ที่ใช้งาน control panel ของ Plesk ในระดับ reseller สามารถกำหนดวันหมดอายุให้กับ service plan ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน Plesk คลิกที่ Service Plans คลิกที่ service plan ที่ต้องการกำหนดวันหมดอายุ นำติ๊กถูกที่ Unlimited ในหัวข้อ Expiration date ออก กำหนดวันหมดอายุของ service plan ตามที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ Update & Sync ระบบจะแจ้งว่าได้ทำการ sync การเปลี่ยนแปลงของ service plan ดังกล่าวกับ subscription แล้ว

วิธีตรวจสอบ e-mail header ใน Outlook

E-mail header เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดต่างๆของอีเมล เช่น เลขทะเบียนของอีเมล (message header) วันเวลาที่ส่งเมล server ที่ใช้ส่งอีเมล ชื่อผู้รับ-ผู้ส่ง อย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของอีเมล ข้อมูลในส่วนของ header นั้นมักจะถูกนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุการรับ-ส่งอีเมลต่างๆ ของผู้ให้บริการ รวมไปถึงการตรวจสอบเส้นทางของอีเมล โดยการตรวจสอบ e-mail header ใน Outlook สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน Microsoft 365 คลิกที่เมลที่ต้องการตรวจสอบ e-mail header คลิกที่ไอคอน More actions เลื่อนเมาส์ไปที่ View คลิกที่ View message source ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดของเมลดังรูปตัวอย่าง