การติดตั้ง WordPress ใน Plesk

สำหรับผู้ที่ใช้บริการกับทางโฮสอะตอม ใน Plesk Control Panel จะมี WordPress Toolkit มาให้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ ติดตั้ง และจัดการ WordPress ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

งั้นลองมาดูวิธีติดตั้ง WordPress ผ่าน WordPress Toolkit ใน Plesk กัน

1.ทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณ โดยพิมพ์ https://ชื่อโดเมนของคุณ:8443 หรือ https://ipของคุณ:8443 ตัวอย่างเช่น https://yourdomain.com:8443 จากนั้นใส่ username และ password ของคุณ แล้วกดปุ่ม Log in

2. ที่เมนูด้านซ้ายคลิกที่ WordPress

3. ในหน้าการติดตั้งให้ใส่ข้อมูลต่างๆ ซึ่งในส่วนของ Installation path ให้เอา directory ในการติดตั้งออก และกำหนด username กับ password แค่นี้ก็พอแล้ว ที่เหลือปล่อยให้ auto ได้เลย แต่หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้โดยตรงผ่าน wordpress dashboard

แต่หากต้องการกรอก แต่ละช่องก็มีรายละเอียดดังนี้ (ไม่จำเป็น)

  • General:
    • Installation Path: ใส่ชื่อโดเมนที่ต้องการติดตั้ง WordPress
    • Website Title: ใส่ Title เว็บ
    • Plugin/theme set: เลือก Plugin/theme ที่ต้องการติดตั้ง หากไม่ต้องการติดตั้งให้เลือก None
    • Website Language: เลือกภาษาที่ต้องการใช้
    • Version: เลือกเวอร์ชันของ WordPress
  • WordPress Administrator:
    • Username: ใส่ชื่อ Username ของแอดมิน
    • Password: ใส่รหัสผ่าน
    • Email: ใส่อีเมล
  • Database:
    • Database name: ใส่ชื่อฐานข้อมูล
    • Table prefix: ใส่ชื่อคำนำหน้าตารางฐานข้อมูล (เช่น wp_ )
    • Database username: ใส่ชื่อ database user (ระบบจะสร้างให้อัตโนมัติ)
    • Database user password: ใส่รหัสผ่าน database user (ระบบจะสร้างให้อัตโนมัติ)
  • Automatic Update Setting:
    • WordPress: หากต้องการ Update WordPress อัตโนมัติสามารถเลือกได้ ดังนี้
      • ถ้าต้องการอัปเดตเพียงแค่ระบบรักษาความปลอดภัยให้เลือก Yes, but only minor (security) updates,
      • หากต้องการให้อัปเดตทั้งหมด เลือก Yes, all (minor and major) updates
      • หากไม่ต้องการให้อัปเดตอัตโนมัติเลือก No
    • Plugin: หากให้อัปเดต Plugin อัตโนมัติสามารถให้เลือก Forced
    • Theme: หากให้อัปเดต Theme อัตโนมัติสามารถให้เลือก Forced

จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Install เพื่อทำการติดตั้ง

4. ระบบจะแสดงหน้าต่างว่าการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องการติดตั้ง Plugin ต่อให้คลิกที่ Install Plugin แต่ถ้าไม่ต้องการให้เลือก No, thanks

5. WordPress จะถูกติดตั้งเรียบร้อย ซึ่งหากต้องการติดตั้ง Theme หรือ Pluging ก็สามารถทำได้ โดยผ่าน WordPress Toolkit หรือจะติดตั้งผ่าน WordPress Dashboard โดยตรงก็ได้

สำหรับปลั๊กอินที่ทางเราแนะนำให้ติดตั้งสำหรับ WordPress สามารถดูได้ที่ Plugin ที่ควรติดตั้งสำหรับ WordPress

Was this article helpful?

Related Articles