
บางครั้งการเปิด auto-update ให้กับธีมอาจทำให้เว็บไซต์แสดงผลผิดพลาด หากธีมมีการปรับโครงสร้างหรือไม่รองรับปลั๊กอินบางตัว ซึ่งการเลือกปิดใช้งาน auto-update แล้วควบคุมการอัปเดตด้วยตนเองก็นับเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะเช่นกัน
ทำไมถึงควรปิด Auto-Update ในธีม
- มีการปรับแต่งธีมโดยตรง (Custom Code) – หากธีมของคุณมีการแก้ไขไฟล์ธีมหลัก (โดยไม่ได้ใช้ child theme) การเปิด auto-update อาจลบไปโค้ดที่ปรับแต่งทิ้งทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้เว็บไซต์พังหรือดีไซน์หายไปได้ (ถ้าจะปรับแต่งควรใช้ child theme เพื่อความปลอดภัยเวลามีการอัปเดต)
- ต้องการควบคุมการออกแบบอย่างใกล้ชิด – สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องมีการคุมดีไซน์ให้เป๊ะอยู่มเสมอ (เช่น เว็บบริษัท เว็บอีคอมเมิร์ซ หรือเว็บที่มีการออกแบบเฉพาะตัว) การเปิด auto-update อาจทำให้หลังอัปเดตแล้ว layout, ปุ่ม หรือสีเพี้ยนไปจากเดิมได้
- อยากทดสอบก่อนเริ่มอัปเดตจริง – บางครั้งการอัปเดตอาจมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่หรือโค้ดที่ยังไม่เสถียร โดยการ staging site หรือใช้ระบบทดสอบ จะสามารถเช็กได้ก่อนว่าหากอัปเดตแล้วเว็บไซต์ยังใช้งานได้ปกติอยู่ไหม
- ใช้ธีมจากนักพัฒนาภายนอก หรือธีมแบบพรีเมียม – บางธีมพรีเมียมหรือธีมที่มาจาก Marketplace อื่น ๆ อาจไม่ได้เชื่อมกับระบบอัปเดตของ WordPress โดยตรง ซึ่งการเปิด auto-update อาจทำให้เกิดปัญหากับ license หรือปลั๊กอินที่ใช้ร่วมกัน
- ป้องกันการอัปเดตที่ไม่ได้ตั้งใจในช่วงเวลาสำคัญ – หากเว็บไซต์ของคุณมีช่วงเวลาที่ต้องออนไลน์อยู่ตลอดเวลา (เช่น ช่วงแคมเปญ โปรโมชั่น หรืออีเวนต์) การเปิด auto-update อาจทำให้ไปเผลออัปเดตในช่วงเวลาดังกล่าว จนทำให้เว็บล่ม และสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์หรือรายได้ได้
สำหรับขั้นตอนในการปิดใช้งาน auto-update ให้กับธีมใน WordPress นั้น สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ ดังนี้
เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการเปิดใช้งาน auto-update ให้กับธีม

คลิกที่ Appearance

กรณีที่มีอยู่ธีมเดียว
คลิกที่ Disable auto-updates

เมื่อปิดใช้งานแล้ว ที่ปุ่ม Disable auto-updates จะเปลี่ยนเป็น Enable auto-updates ดังภาพตัวอย่าง

กรณีที่มีอยู่หลายธีม
คลิกที่ธีมที่ต้องการปิดใช้งาน auto-update

คลิกที่ Disable auto-updates

เมื่อปิดใช้งานแล้ว ที่ปุ่ม Disable auto-updates จะเปลี่ยนเป็น Enable auto-updates ดังภาพตัวอย่าง
