สำหรับผู้ใช้งานโฮสติ้งกับทางโฮสอะตอม หากต้องการจะลบ WordPress ที่เคยติดตั้งไว้ ผู้ใช้สามารถลบการติดตั้งได้ด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ 1.ทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณ โดยพิมพ์ https://ชื่อโดเมนของคุณ:8443 หรือ https://ipของคุณ:8443 ตัวอย่างเช่น https://yourdomain.com:8443 จากนั้นใส่ username และ password ของคุณ แล้วกดปุ่ม Log in 2. ที่หน้าหลักของ control panel : Websites & Domains เลือกชื่อโดเมนที่ต้องลบการติดตั้ง WordPress จากนั้นคลิกที่ ชื่อเว็บไซต์ หรือที่รูป 3. หน้า Instances คลิกที่แท้บ Instances > ติ๊กถูกหน้าโดเมนที่ต้องการลบ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Remove 4. ระบบจะแสดงหน้าต่างเพื่อถามอีกครั้งว่าต้องการลบ WordPress ที่ติดตั้งจริงๆ หรือไม่ หากต้องการลบให้กดปุ่ม Remove 5. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ระบบจะแสดงข้อความแจ้งว่าได้ลบ WordPress ที่ติดตั้งออกไปแล้ว ดังภาพ
วิธีตรวจสอบระบบกักกัน E-mail spam quarantine ใน Spam Experts
สำหรับผู้ใช้สามารถตรวจสอบอีเมลสแปมที่ SpamExperts กักไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถจัดการ และดำเนินการกับอีเมลนั้นได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. Login เข้าสู่ SpamExperts 2. ที่เมนูด้านซ้าย คลิกที่ Incoming เลือก Spam quarantime 3. เลือกอีเมลที่ต้องการจัดการ จากนั้นคลิกที่ เลือกคำสั่งที่ต้องการเช่น Remove form quarantine : เพื่อลบ E-mail นี้ออกจากระบบ Release from quarantine : เพื่อยกเลิกการกักกัน E-mail นี้และส่ง E-mail เข้า inbox ของผู้รับ Release and train from quarantine : เพื่อยกเลิกการกักกัน E-mail ฉบับนี้ ส่ง E-mail […]
วิธีดูสถิติการทำงานของ Spam Experts
คุณสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของ Anti-spam Gateway ที่เราให้บริการได้จากการดูสถิติการทำงานของ Anti-spam Gateway โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. Login เข้าสู่ SpamExperts 2. ที่เมนูด้านซ้าย คลิกที่ Incoming แล้วเลือก Domain Statistics ในส่วนของ Domain Statistics ที่ Timeframe เลือกช่วงเวลาที่ต้องการดู สามารถเลือกดูได้เป็นแบบ รายชั่วโมง (Hours), รายวัน (Days), รายสัปดาห์ (Week), รายเดือน (Months) และรายปี (Years) 3. เลือกช่วงเวลาเริ่มต้น 4. เลือกช่วงเวลาสิ้นสุด จากนั้นคลิกที่ Show 5. เลื่อนลงมาใต้ปุ่ม Show ระบบจะแสดงสถิติในรูปแบบตาราง กราฟ และแผนภูมิดังภาพ
ขั้นตอนการทำ White-list sender ใน Spam Experts
บางครั้งคุณอาจพบว่าระบบกรอง Spam E-mail ที่ใช้งานอาจทำการตรวจจับ E-mail ผิดพลาดโดยมอง Email ดีกลายเป็น Spam (พบได้น้อยมาก) แล้วกรองไว้ซึ่งอาจทำให้คุณพลาด E-mail สำคัญได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ E-mail สำคัญตกหล่นคุณสามารถเพิ่มรายชื่อ E-mail ของคู่ค้า และผู้ติดต่อที่มีความสำคัญของคุณเข้ายังระบบ White-list sender เพื่อให้ระบบกรอง Spam ไม่ต้องตรวจรายชื่อ E-mail ข้างต้นและกำหนดค่าเป็นรับ เสมอได้ โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1. Login เข้าสู่ SpamExperts 2. ที่หน้าหลัก ในส่วนของ Incoming – Protection Settings คลิกที่รูป Sender whitelist 3. ที่ Tab : Sender Whitlist – Domain […]
วิธีติดตั้ง Laravel บน Shared Hosting
Laravel คือ PHP Framework ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นแบบ MVC (Model Views Controller) ที่ช่วยให้การเขียนโค้ด อ่าน และแก้ไข ทำได้โดยง่าย หากคุณต้องการให้ Laravel สามารถทำงานบน Shared Hosting ได้นั้น ขั้นตอนที่ 1 คุณจำเป็นจะต้องพัฒนา Laravel บนเครื่องของคุณซะก่อน เนื่องจากบน Shared Hosting คุณไม่สามาถใช้ Command Line ในการ Deploy Laravel ผ่าน composer ได้ เมื่อพัฒนาเรียบร้อยแล้วให้ใช้ FTP Upload ไฟล์ Laravel ของคุณขึ้นมายัง Server วางไว้ที่ Folder : public_html หรือ httpdocs ขั้นตอนที่ […]
ขั้นตอนการติดตั้ง SSL Certificate บน Webmin
สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง SSL Certificate บน Webmin มีขั้นตอนการทำ ดังนี้ 1.อัพโหลดไฟล์ที่ได้รับมาจากผู้ให้บริการ SSL Certificate โดยไฟล์ที่ได้มีดังนี้ “yourdomain.crt” และ “yourdomain.ca-bundle” หมายเหตุ: yourdomain คือชื่อโดเมนของคุณ ไปยัง Webmin 2.คลิกที่ Others >> Upload and Download เลือกแท็บ Upload to server ที่ File to upload: ใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Upload หมายเหตุ: ในกรณีที่ไม่ได้ติดตั้ง Apache ไว้ ให้คลิกที่เมนู Unused modules ดังภาพ 3.ที่ Servers คลิกที่ Apache Webserver […]
การติดตั้ง SSL Certificate บน Node.js
สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง SSL Certificate บน Node.js มีขั้นตอนการทำ ดังนี้ พิมพ์โค้ดด้านล่างนี้ลงในเซิร์ฟเวอร์ โดยที่ /path/to/bundle.ca-bundle คือ paht ที่ใช้เก็บไฟล์ .ca-bundle /path/to/private.key คือ path ที่ทำการ generated private key ด้วย CSR และเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ /path/to/certificate.crt คือ path ที่ใช้เก็บ end-entity certificate หมายเหตุ: เนื่องจากโมดูลของ node.js นั้นมีโครงสร้างที่แตกต่างจากของ JavaScript เป็นเหตุที่ทำให้เซิร์ฟเวอร์ไม่ยอมรับไฟล์ .ca-bundle file ที่ออกโดย Comodo ส่งผลทำให้มีการคืน Certificate ระดับ intermediate เฉพาะใบแรกเท่านั้น ซึ่งเมื่อใช้บนเบราว์เซอร์ของ destop รุ่นเก่ากับมือถือ ระบบจะแสดงข้อความว่าไม่ปลอดภัย โดยปัญหานี้จะเกิดขึ้นเฉพาะ […]
ขั้นตอนการติดตั้ง SSL certificate บน Apache
สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง SSL certificate บน Apache สามารถทำได้ ดังนี้ 1.ทำการอัพโหลดไฟล์ certificate ขึ้นไปไว้บน server เมื่อสั่งซื้อ SSL certificate จะได้รับไฟล์ zip ซึ่งภายในบรรจุไฟล์ .crt 2-3 ไฟล์ ซึ่งได้แก่ ไฟล์ certificate สำหรับชื่อโดเมนของคุณ (.crt) และไฟล์ CA bundle (.ca-bundle) ซึ่งเป็น certificate ระดับ intermediate และระดับ root ในกรณีที่อัพโหลด certificate ระดับ intermediate แยกออกมาต่างหากบนเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้บริการอยู่ จะต้องทำการรวมไฟล์ certificate ทั้งหมดให้เป็นไฟล์ CA bundle ไฟล์เดียว ยกตัวอย่างเช่น PositiveSSL certificate ของ […]
วิธีปรับแต่ง PHP โดยใช้ .user.ini
ในกรณีที่ต้องการปรับหรือกำหนดการอัพโหลดไฟล์ หรือต้องการให้แสดง verbose errors หรือเพิ่ม memory limits หรือต้องการตั้งค่าอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งทำได้โดยสร้างไฟล์ .user.ini ขึ้นมาใน root ของแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ สำหรับขั้นตอนมีดังนี้ สร้างไฟล์ .user.ini เพิ่มการตั้งค่าในส่วนที่ต้องการ ซึ่งเขียน Code คล้ายๆ กับ php.iniยกตัวอย่างเช่น การสั่งให้ php แสดง errror เมื่อเสร็จแล้วให้อัพโหลดไปยัง root directory ของแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ โดยทั่วไปจะเป้น Directory ชื่อ public_html หรือ httpdocs ตัวอย่างการตั้งค่าที่พบบ่อย กำหนด memory limit ซึ่งจะช่วยป้องกันสคริปต์ที่เขียนขึ้นมาไม่ดีใช้หน่วยความจำที่มีทั้งหมดจนหมด โดยใช้คำสั่ง กำหนด Max Upload Size กำหนดขนาดไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด […]
วิธีติดตั้ง SSL certificate บน NGINX Server
สำหรับวิธีการติดตั้ง SSL Certificate บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ NGINX นั้นมีขั้นตอนการทำดังนี้ วิธีการรวมไฟล์ Cetificate ที่ได้มี 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 รวมไฟล์ทั้งหมดเป็นไฟล์เดียวด้วยตนเอง ด้วยการการคัดลอก และวาง Certificate ที่ได้ทั้งหมดมาทำการเชื่อมต่อกัน ให้เป็นไฟล์เดียว โดยเรียงลำดับไฟล์ดังนี้ Certificate สำหรับโดเมน, Certificate ระดับ intermediate และ Certificate ระดับ root วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง ถ้าไฟล์ Certificate ที่ได้มานั้นถูกอัปโหลดไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์ ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้ โดยแยกออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 ถ้าได้รับไฟล์ Certificate ระดับ intermediate กับระดับ root แยกกัน […]