การติดตั้ง CA Root Certificate ผ่าน DirectAdmin

เนื่องจาก SSL Certificate มีหลายประเภท หาก SSL Certificate ที่เราติดตั้งไม่ใช่ Certificate แบบ Single Root แต่เป็นแบบ Chained Root เราจำเป็นต้องติดตั้ง CA Root Certificate ด้วยเพื่อทำให้การแสดงผลสมบูรณ์ ก่อนติดตั้งผมอยากให้มั่นใจว่าคุณมี CA Root Certificate เรียบร้อยแล้ว โดยปกติผู้ออกใบรับรอง SSL Certificate จะส่งมาพร้อมกันกับ SSL Certificate แบบ Chained Root ที่เราสั่งซื้อครับ โดยจะมาพร้อมกับ E-Mail หรือ Link ให้ดาวน์โหลด บางครั้งผู้ออกใบรับรองจะเรียกไฟล์เรานี้ว่า Bundle หรือ CA_Bundle ยกตัวอย่าง ไฟล์ที่ได้รับทาง E-Mail (ผมขอเรียกไฟล์ด้านล่างนี้ว่า CA_bundle นะครับ) […]

แก้ไขหน้าเว็บแล้วทำไมยังเหมือนเดิม

ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าคุณอัพโหลดไฟล์เว็บไซต์ไปแล้ว หรือแก้ไขอะไรไป และพอคุณไปกด Refresh แต่หน้าเว็บกลับไม่เปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ปัญหาแบบนี้เกิดได้จาก 3 สาเหตุด้วยกัน ดังนี้ 1. Web Browser’s Cacheจะเรียกว่า Cache หรือ Temporary Internet Files ก็ได้ มันคือไฟล์ที่ตัวโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อที่เวลาคุณเปิดดูเว็บเดิมซ้ำมันจะได้ไม่ต้องโหลดข้อมูลมาใหม่ทั้งหมด แต่สามารถดึงข้อมูลจากไฟล์ที่เก็บไว้ในเครื่องมาแสดงได้เลย. เว็บเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่จะมีคีย์ลัดเป็น Ctrl + F5 สำหรับสั่ง Refresh หน้าเว็บไซต์โดยที่จะโหลดไฟล์จากอินเตอร์เน็ตมาใหม่ โดยไม่เรียกใช้ไฟล์ Cache ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สรุป คือ ให้คุณลองกด Ctrl + F5 ที่หน้าเว็บไซต์ดู (อาจทำซ้ำสัก 2-3 ทีก็ได้) แต่ถ้าหน้าเว็บยังคงเหมือนเดิม แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ Cache ในเว็บเบราว์เซอร์แล้ว 2. อัพโหลดผิดที่ (กรณีเว็บไซต์ HTML)อันนี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิด […]

วิธีแก้ไข hosts file ใน Windows

กระบวนการนี้ใช้สำหรับการจำลองเว็บไซต์ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ หรือการโอนย้ายไปยัง Server ใหม่ ที่ต้องการทดสอบก่อนว่าเว็บไซต์ที่กำลังพัฒนาบน Server ใหม่ หรือที่กำลังโอนย้ายไปยัง Server ใหม่นั้นแสดงผลได้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยที่ยังไม่ต้องตั้งค่า Nameserver ไปยัง Server ใหม่จริงๆ ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่าง โดยใช้ชื่อของเว็บไซต์เป็น yourdomain.com ซึ่งมี IP address คือ 111.222.333.444 ขั้นตอนการทำ มีดังนี้ ไฟล์ถูกจัดเก็บไว้ที่ตำแหน่ง Drive (C:)\Windows\System32\drivers\etc\ Copy ไฟล์ hosts มาวางที่หน้าจอ Desktop ก่อน เนื่องจากไฟล์นี้จะถูกระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows ป้องกันการแก้ไขไฟล์เอาไว้ คลิกขวาที่ icos hosts บนหน้า Desktop จากนั้นเลือก Open with โดยให้เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม File Editor เช่น Notepad […]

วิธีลบ Cache หรือ Temporary Internet Files ใน Internet Explorer

หากคุณพบปัญหาเว็บไซต์แสดงผลไม่สมบูรณ์ หรือแสดงผลด้วยรูปภาพเก่า การตั้งค่าเก่า หรือรูปแบบ css เก่าที่คุณได้ทำแก้ไขไปแล้ว แต่ระบบไม่ยอมแสดงผลให้เป็นรูปแบบใหม่ ปัญหาอาจเกิดเพราะ Web Browser ที่คุณใช้งานอาจจดจำข้อมูลบางส่วนของเว็บไซต์ไว้ใน Cache หรือ Temporary Internet File แนวทางการแก้ไขสามารถทำได้ด้วยวิธีลบ Cache หรือ Temporary Internet Files ใน Explorer โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกที่ Tools ทางขวาของบราวเซอร์ 2. คลิกที่ Safety > Delete browsing history 3. ทำเครื่องหมายถูกที่หัวข้อ “Temporary Internet files and website files” จากนั้นคลิกที่ Delete

รวมรหัสผ่านเดาง่ายที่ควรหลีกเลี่ยง

ในยุคดิจิตอลแบบนี้ ใครๆ ก็จำเป็นต้องมี Password ไว้เข้าเว็บไซต์กันหลายๆ ที่ และแน่นอนว่าใครก็อยากมี Password ที่จำง่าย และใกล้เคียงกับเรื่องราวของตัวเอง ทำให้หลายๆ คนนิยมนำ ปีเกิด บ้านเลขที่ ชื่อแฟน ชื่อเล่น ทะเบียนรถ และอื่นๆ มาตั้งเป็น Password กรณีนี้ไม่ควรอย่างยิ่ง เนื่องจากคนใกล้ตัวของคุณ อาจคาดเดา Password ของคุณได้ และถ้าคุณเป็นคนดัง บุคคลสาธารณะ อย่างดารา นักร้อง ข้อมูลพวกนี้จะสามารถค้นหาได้ง่ายมากๆ และหากคุณสงสัยว่ารหัสผ่านที่ตั้งไว้นั้นง่ายต่อการคาดเดาหรือไม่ สามารถตรวจสอบรหัสผ่านที่ตั้งไว้กับรายการรหัสผ่านที่พบมากที่สุดได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ ซึ่งหากรหัสผ่านของคุณเข้าข่าย และใกล้เคียงกับรายการนี้ก็ควรจะเปลี่ยนด่วนเลย ส่วน Password ที่ดีควรจะมีตัวอักษรตามนี้ นอกจากนี้ Password ที่ดีควรเปลี่ยนทุกๆ 3 เดือน  ก็ไม่มีใครจะมา hack account ของคุณได้อีกต่อไป

มาปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพื่มความเร็วกันเถอะ

มีข้อมูลวิจัยผู้ใช้งาน Internet ในสหรัฐส่วนใหญ่ จะรอหน้าเว็บแค่ 4 วิ ครับ เกินจากนี้ไม่ง้อแล้ว เว็บมีเป็นพันล้าน จะคอยทำไม ส่วนใหญ่จะปิดแล้วไปดูเว็บอื่นที่มันรวดเร็วทันใจดีกว่า เราเองในฐานะ Webmaster จึงควรออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถโหลดได้รวดเร็ว ทันใจผู้ชมครับ เราขอแนะนำบริการ Google PageSpeed Insights ครับ สำหรับผู้ที่มีเว็บไซต์ทุกท่านเลยนะครับ ผมแนะนำว่าให้ทดลองใช้งานดู บริการนี้จะเป็นบริการตรวจสอบความเร็วในการเรียกโหลดหน้าเว็บไซต์ของเราครับ โดยระบบตรวจสอบ จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปภาพในเว็บไซต์ของเรารูปใดใหญ่ไปบ้าง สามารถปรับลดขนาดของรูปได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียด หรือ Code ในจุดใดสามารถ Optimize ได้บ้าง เพื่อลดขนาดของ Object บนหน้าเว็บไซต์ของเราให้มีขนาดเล็กที่สุด ทำให้การโหลดหน้าเว็บของคุณเร็วขึ้นครับ ส่วนประโยชน์ที่ได้ นอกจากจะประหยัด Bandwidth แล้วยังทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เปิดหน้าเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยครับ เครื่องมีอนี้เป็น เครื่องมือที่ให้บริการโดย Google เองครับ ความสามารถของ Web Page Speed Test […]

วงจรอายุของ Domain Name

สำหรับการจดทะเบียนโดเมนนั้นมีอายุขั้นต่ำอยู่ที่ 1 ปี โดยสามารถจดทะเบียนโดเมนได้ยาวนานสูงสุดไม่เกิน 10 ปี และหากโดเมนหมดอายุเกิน 40 วันนายทะเบียนจะทำการคิดค่าธรรมเนียมการต่ออายุที่มีราคาแพงขึ้น ซึ่งถ้าหากโดเมนหมดอายุ จะต้องใช้เวลาในการรอ 72-75 วันจึงจะสามารถจดทะเบียนใหม่ได้ ยิ่งโดเมนที่มีชื่อสวย เมื่อหมดอายุแล้วมักถูกนายทะเบียนเอาไปประมูลขายทอดตลาดโดเมนในช่วง Redemtion Period 1. สถานะ Active (1-10 ปี ตามระยะเวลาที่ต้องการยื่นจดทะเบียน) สถานะนี้ คือโดเมนนี้ได้จดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว โดเมนนี้ได้จดทะเบียนแล้ว หรือสถานะไม่ว่าง ซึ่งผู้อื่นจะไม่สามารถจดโดเมนชื่อซ้ำกับโดเมนของคุณได้ โดยช่วงสถานะนี้จะมีช่วงเวลา ตลอดอายุของโดเมนที่คุณได้จดทะเบียนโดเมนเท่ากับจำนวนปีที่คุณจดทะเบียน ซึ่งสามารถจดได้สูงสุด 10 ปี และการต่ออายุโดเมน ก็ควรต่ออายุในช่วงสถานะนี้ ก็คือต่ออายุก่อนหมดอายุ (จดทะเบียนโดเมนเนมเรียบร้อยแล้ว) 2. สถานะ Expired (1-45 วัน) สถานะนี้ คือ เมื่อครบกำหนดเวลาที่จดโดเมนไว้ แล้วยังไม่ได้ต่ออายุ โดเมนเนมของคุณก็จะหมดอายุในช่วงนี้ ทั้งเว็บไซต์และอีเมลโฮสติ้งของคุณ จะไม่สามารถเข้าใช้งานได้ แต่คุณสามารถที่จะต่ออายุได้ภายในเวลาประมาณ 45 […]

ขั้นการโอนย้ายโดเมน .th มาใช้บริการกับเรา

ขั้นตอนนี้สำหรับการโอนย้ายโดเมนที่มีนามสกุลดังต่อไปนี้เท่านั้น co.th | in.th | ac.th | go.th | net.th | or.th | mi.th | ภาษาไทย.th | .ไทย โดยจะเป็นการโอนย้ายบริการโดเมนเนมมาใช้บริการกับเรา (โฮสอะตอม) เนื่องจากปัจจุบันองค์กรที่ดูแลโดเมนหลักของไทยจากการแต่งตั้งของ ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) นั้นคือบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด แห่งเดียวทำให้ขั้นตอนการโอนย้าย โดเมน ค่อนข้างแตกต่างจากการโอนย้ายโดเมนทั่วไปแบบที่ต้องใช้ EPP Code หรือ Secret Code ครับ การโอนย้ายมีขั้นตอนดังนี้ แจ้งผู้ให้บริการโดเมนเดิมให้ทำการ ปลด Lock โดเมนสำหรับโอนย้าย นำส่งสำเนาเอกสารตามประเภทของโดเมน* ให้เราทางแฟกซ์หรือ อีเมล โดยเซ็นสำเนาถูกต้อง […]

ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดโดเมน ควรคัดสรรเลือกชื่อโดเมนก่อนตัดสินใจจดชื่อโดเมนครับ เพราะเมื่อ จดชื่อโดเมนแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมนที่จดไปแล้วได้ ต้องจดใหม่ ก็คือเสียเงินจดโดเมนเพิ่มอีก 1 โดเมน เลือกผู้ให้บริการจดโดเมนที่เชื่อถือได้ เพราะผู้ดูแลโดเมนให้คุณ จะต้องเป็นผู้ต่ออายุโดเมนให้เมื่อโดเมนหมดอายุ นอกจากนี้ เค้ายังสามารถเข้าไปจัดการแก้ไขโดเมนของคุณได้เช่นกัน ผู้ให้บริการ ควรจดชื่อโดเมนโดยใช้ชื่อคุณเป็นเจ้าของโดเมน 100% ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถจัดการโดเมนของคุณเองได้ ซึ่งอาจเกิดปัญหา เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนของคุณเป็นเจ้าอื่นครับ (การเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมน ก็คือ การย้ายโดเมน หรือ Transfer Domain) ทั้งนี้ คุณควรเก็บ Username และ Password สำหรับโดเมนไว้เป็นความลับ หากคุณจ้างผู้อื่นทำเว็บไซต์ ให้แค่ Username และ Password สำหรับ FTP ก็พอครับ ในการจดโดเมน ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของโดเมนคือ ชื่อ นามสกุล, ที่อยู่, รหัสไปรษณีย์, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแนะนำให้กรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วนครับ […]

เสริมความปลอดภัยให้ Joomla ด้วย Apache Mod_Rewrite

Joomla เป็น Opensource CMS ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทำให้ตกเป็นเป้าของผู้ไม่ประสงค์ดี พยายามเจาะระบบเว็บไซต์อยู่บ่อยครั้ง สำหรับผู้ที่ใช้งาน Joomla CMS คุณมีวิธีที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปลอดภัยจากปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายๆ โดยใช้ Script Apache Mod_Rewrite ในการป้องกัน และ อุดช่องโหว่ในส่วนที่ไม่ปลอดภัย และป้องกันการแสกนหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของ Joomla ปรกติแล้ว Joomla จะมีไฟล์ .htaccess ให้มาอยู่แล้ว แต่จะอยู่ในรูปแบบของ htacess.txt ให้คุณเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น .htaccess แล้วคัดลอก code ด้านล่างนี้ไปต่อท้ายไฟล์เท่านั้นก็เรียบร้อย