ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย สำหรับผู้ใช้งานโฮสอะตอม ที่เลือกใช้งาน Control Panel เป็น DirectAdmin เรามีการตั้งค่าบล็อกการเชื่อมต่อ Database จากภายนอกเอาไว้เป็นค่ามาตรฐาน ทำให้คุณไม่สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับภายนอกได้ ยกตัวอย่างเช่นการเชื่อมต่อจากภายนอก Server โดยใช้โปรแกรม Navicat, MySQL Workbench หรือ SQL-Front หากท่านต้องการเชื่อมต่อจากภายนอก กรุณาทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน DirectAdmin คลิกที่ Databases ในหมวด Account Manager คลิกที่ Manage ในฐานข้อมูลที่ต้องการอนุญาตการเชื่อมต่อจากภายนอก คลิกที่ Manage ในฐานข้อมูล กรณีที่อนุญาตให้สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากภายนอกเฉพาะ IP Address ที่ระบุไว้ ระบุ IP Address ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อฐานข้อมูลจากภายนอกได้ที่หัวข้อ Allow access from ในหมวด Allowed Hosts จากนั้นคลิกที่ […]
วิธีเพิ่ม category ใน WooCommerce
สำหรับผู้ที่ขายสินค้าบนเว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน WooCommerce สามารถสร้างหมวดหมู่ (category) สำหรับสินค้าหรือบริการเพื่อจัดหมวดหมู่สินค้าให้ลูกค้าสามารถดูสินค้าได้ง่ายขึ้นตามขั้นตอนการต่อไปนี้ เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการเพิ่ม attribute คลิกที่ Products คลิกที่ Categories กำหนดรายละเอียดของ category ที่ต้องการเพิ่ม เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ Add new category ระบบจะแจ้งว่าได้เพิ่ม category ดังกล่าวแล้ว และจะแสดง category ที่รายการ category ทางฝั่งขวาดังรูปตัวอย่าง
วิธีเพิ่ม attribute ใน WooCommerce
สำหรับร้านค้าที่มีสินค้าบางอย่าง มีให่เลือกหลายสี หลายขนาด เราสามารถทำการตั้งค่าให้สินค้าชนิดนั้นได้ โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้ เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการเพิ่ม attribute คลิกที่ Products วิธีเพิ่มคุณสมบัติ (attribute) หลัก คลิกที่ Attributes กำหนดรายละเอียดของ attribute ที่ต้องการเพิ่ม เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ Add attribute attribute ที่สร้างจะแสดงที่รายการ attribute ทางฝั่งขวาดังรูปตัวอย่าง วิธีเพิ่มคุณสมบัติ (attribute) ย่อย คลิกที่ Configure terms ใน attribute ที่ต้องการเพิ่มรายการย่อยของ attribute กำหนดรายละเอียดของ attribute ที่ต้องการเพิ่ม เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ Add new [ชื่อ attribute] ระบบจะแจ้งว่าได้เพิ่ม attribute ดังกล่าวแล้ว และจะแสดง attribute […]
วิธีลงสินค้าแบบ Digital Product ใน WooCommerce
สำหรับผู้ที่ขายสินค้าบนเว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน WooCommerce แล้วต้องการขายสินค้า Digital Product ที่ไม่ต้องมีการจัดส่ง เช่น ไฟล์เพลง ไฟล์หนัง หรือไฟล์เอกสาร เป็นต้น โดยสามารถตั้งค่าได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการลงสินค้า คลิกที่ Products คลิกที่ Add new product ใส่รายละเอียดข้อมูลสินค้าที่ต้องการเพิ่ม จากนั้นติ๊กถูกที่ Virtual และ Downloadable ในหมวด Product data กำหนดราคาสินค้าในหัวข้อ Regular price จากนั้นคลิกที่ Add File ในหมวด Dowloadable files คลิกที่ Choose file เลือกไฟล์สินค้าที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ Insert file URL กำหนดรายละเอียดการดาวน์โหลดไฟล์ คลิกที่ […]
วิธีลงสินค้าแบบ External/Affiliate product ใน WooCommerce
สำหรับผู้ที่ขายสินค้าบนเว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน WooCommerce แล้วมีสินค้าแบบ External หรือ Affiliate ที่ต้องการขาย สามารถตั้งค่าได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากลงชื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการลงสินค้า คลิกที่ Products คลิกที่ Add new product ใส่รายละเอียดข้อมูลสินค้าที่ต้องการเพิ่มให้เรียบร้อย จากนั้นให้เลือก Product data เป็น External/Affiliate product กรอกข้อมูล Affiliate product ที่ต้องการเพิ่ม คลิกที่ Publish ระบบจะแจ้งว่าได้เผย publish สินค้าดังกล่าวแล้ว ตัวอย่างสินค้าที่แสดงบนหน้าเว็บ
การใช้งานสิทธิ์ใน Shared Drive
ในการจัดการไฟล์และข้อมูลที่แชร์ใน Shared Drive ของ Google Drive, ผู้ดูแล (Manager) สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของสมาชิกแต่ละคนได้ ซึ่งช่วยให้การจัดการสิทธิ์การใช้งานไฟล์ใน Shared Drive เป็นไปอย่างมีระเบียบและปลอดภัยมากขึ้น สิทธิ์ที่สามารถกำหนดได้ใน Shared Drive มี 4 ระดับหลัก ๆ ได้แก่ Viewer, Commenter, Contributor, และ Manager. การเลือกสิทธิ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 1. Viewer (ผู้ดู) 2. Commenter (ผู้แสดงความคิดเห็น) 3. Contributor (ผู้ร่วมให้ข้อมูล) 4. Content Manager (ผู้จัดการเนื้อหา) 5. Manager (ผู้จัดการ) จากที่กล่าวมาด้านบน เราสามารถสรุปสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละระดับได้ดังตาราง ต่อไปนี้ * ใน Google Drive […]
การเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive ใน Google Drive
การเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Team Drive) เป็นวิธีที่ช่วยให้ทีมงานหรือองค์กรสามารถร่วมกันจัดการไฟล์ใน Google Drive ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น โดยแต่ละสมาชิกสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ใน Shared Drive ตามสิทธิที่ได้รับจากผู้ดูแล สำหรับขั้นตอนการเชิญสมาชิกให้เข้าร่วม Shared Drive ใน Google Drive มีขั้นตอนดังนี้ Login เข้าสู่ระบบของ Google ด้วยบัญชี Google Workspace หรือ Gmail ที่คุณใช้งานอยู่ ไปที่ Google Apps คลิกที่ไอคอน “Drive” เลือก Shared Drive ที่คุณต้องการเพิ่มสมาชิกเข้าไป จากตัวอย่างนี้ขอเลือกเป็น Shared Drive 2 คลิกขวาที่ Shared Drive ที่คุณต้องการเชิญสมาชิก หรือคลิกที่ สามจุด (More […]
วิธีสร้าง Shared Drive ใน Google Drive อย่างง่ายๆ
การใช้ Shared Drive เป็นวิธีในการจัดการและแชร์ไฟล์กับทีมงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไฟล์ที่อยู่ใน Shared Drive จะไม่ถูกลบหากผู้ที่อัปโหลดไฟล์ออกจากองค์กรหรือไม่ได้เป็นสมาชิกของ Google Drive นั้นๆ สำหรับวิธีการสร้าง Shared Drive ใน Google Drive สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้: Login เข้าสู่ Google ด้วยบัญชีของคุณ จากนั้นไปที่ Google Apps คลิกที่ไอคอน “Drive” ที่เมนูด้านซ้ายให้คลิกที่ “Shared drives” จากนั้นให้คลิกที่ “+New” ตั้งชื่อ Shared Drive (คลิกที่นี่เพื่อดู คำแนะนำในการตั้งชื่อ Shared drive) ที่สร้าง เมื่อตั้งชื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ “Create” Shared drive ที่สร้างขึ้นจะปรากฏตามตัวอย่างในภาพที่แสดงด้านล่าง การสร้าง Shared Drive ช่วยให้สามารถจัดการและแชร์ข้อมูลได้ง่ายขึ้นในทีม โดยให้สมาชิกในทีมเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและมีสิทธิ์ที่เหมาะสม
การตั้งชื่อ Shared Drive
การตั้งชื่อ Shared Drive (ไดรฟ์ที่แชร์) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถจัดระเบียบข้อมูลและทำให้ทีมสามารถค้นหาหรือใช้งานได้สะดวกมากขึ้น คำแนะนำในการตั้งชื่อ Shared Drive มีดังนี้: 1. ทำให้ชื่อสื่อความหมาย 2. ใช้คำที่เข้าใจง่าย 3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัวหรือความลับในชื่อ 4. รักษาความสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กร 5. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิเศษหรือสัญลักษณ์ 6. ทำให้ชื่อสั้นและกระชับ 7. ใช้คำนำหน้าเพื่อแยกหมวดหมู่ ตัวอย่างการตั้งชื่อ Shared Drive: การตั้งชื่อที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลและทำให้ทีมสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น
HTML Div Element
<div> Element ใช้สำหรับระบุ Element อื่นๆ ที่ต้องการในพื้นที่หนึ่ง <div> Element <div> เป็น Element แบบบล็อกที่เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งหมายความว่า Element นี้ใช้ความกว้างทั้งหมดที่มีอยู่ และมีการแบ่งบล็อกกันระหว่างบรรทัดก่อนและหลังของ Element นี้ ตัวอย่าง Element <div> ไม่มี Attribute ที่จำเป็นต้องระบุ แต่สามารถใช้ Attribute style, class และ id ได้ เนื่องจากเป็น Attribute ทั่วไป <div> เป็น Container Element <div> ใช้เพื่อจัดกลุ่มส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บ ตัวอย่าง จัดกลางใน <div> Element การจัดตำแหน่งของ Element อื่นๆ ภายใน <div> […]