Google Apps คือ บริการ Email รวมไปถึงบริการออนไลน์อื่นๆ ที่ให้บริการโดย Google เช่น Google วิดีโอ, ปฏิทิน, เอกสาร, Cloud Connect, Groups และ Sites บริการฟรี จาก Google ต่างๆ เหล่านี้สามารถใช้งานแทน Collaboration Software ที่มีราคาแพงได้เลย และหากต้องการลูกเล่นเพิ่มเติม ก็สามารถเสียเงินอัพเกรดเป็นบัญชีผู้ใช้แบบธุรกิจได้อีกด้วย
แต่สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Google Apps จนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือบริการ Email ที่มีประสิทธิภาพเยี่ยม มีระบบป้องกัน สแปมชั้นยอดและให้พื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละบัญชีขนาด 7GB
การสมัครใช้งานเบื้องต้นคุณต้องมีชื่อโดเมนเพื่อเอาไว้ใช้บริการของ Google Apps ในที่นี้ผมขออนุญาติใช้ชื่อ thainetlink.com เพื่อใช้เป็นตัวอย่างครับ
ปกติแล้วบริการของ Google เองจะสร้าง Email ผู้ดูแลระบบให้ในขั้นตอนที่เราสมัครเข้าใช้งาน ซึ่งจะเป็น Email บนโดเมนเดียวกับที่คุณใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น admin@thainetlink.com แต่เราไม่แนะนำให้ใช้ Email ตัวนี้เป็น Email หลักในการบริการระบบเราขอแนะนำให้คุณสมัครบัญชี Google ใหม่โดยคุณจะใช้ Email อะไรก็ได้ เพื่อทำการสมัครใช้งานแต่ไม่ควรใช้ Email ที่อยู่ในโดเมนที่คุณกำลังจะขอใช้บริการเช่น admin@thainetlink.com เนื่องจากว่า หากระบบการเชื่อมต่อของโดเมนของคุณกับ Google Apps มีปัญหาคุณจะไม่สามารถติดต่อกับ Google ได้เลยเนื่องจาก Email หลักที่คุณใช้ก็ผูกอยู่กับบริการที่มีปัญหา
หากคุณมีข้อมูลครบถ้วนแล้ว
1. เริ่มต้นด้วยการเข้าไปยังเว็บไซต์ Google Apps ของ Google ที่
http://www.google.com/apps/intl/th/group/index.html
2. คลิกที่ปุ่ม Get Started ดังรูป
3. ระบุโดเมนที่คุณต้องการใช้บริการ Google Apps
4. ระบุ รายละเอียด ชื่อ นามสกุล อีเมล(ต้องไม่ใช่ Email บนโดเมนที่จะนำมาใช้บริการ Google Apps ในตัวอย่างนี้ คือจะใช้อีเมลอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ email@thainetlink.com) เบอร์โทรศัพท์ ประเทศ และตำแหน่งการจัดการโดเมนของคุณดังรูป เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกดำเนินต่อไป
5. ตั้งค่า Account ผู้ดูแลระบบสำหรับโดเมนนี้ ดังรูป จากนั้นยอมรับข้อตกลงของ Google และคลิก ดำเนินการตั้งค่าต่อไป
6. เลือกการตั้งค่าแบบทันใจ (ง่าย) ไม่ต้องห่วงกับการตั้งค่าขั้นสูงอื่นๆ เราสามารถกำหนดได้ในภายหลัง
7. ทำการยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของโดเมนนี้จริงๆ ก่อนใช้งาน
8. ทำการยืนยันโดยการดาวน์โหลดไฟล์ชื่อเฉพาะที่ Google สร้างมาเป็นพิเศษ แล้วนำอัพโหลดไปยัง Server ของโดเมนนี้
9. ในระบบของเรา ให้คุณนำไฟล์ที่ได้ อัพโหลดด้วยโปรแกรม FTP ที่คุณใช้งาน (ในตัวอย่างนี้คือ FileZilla) อัพโหลดไว้ที่แฟ้ม public_html
10. เมื่ออัพโหลดไฟล์เรียบร้อย ให้กลับมาคลิกยืนยัน เพื่อดำเนินการต่อไป
11. หากการยืนยันไม่สำเร็จ อาจเกิดจากคุณอัพโหลดไฟล์ไว้ผิด แฟ้ม หรือผิดโดเมน ให้ลองตรวจสอบดูซ้ำแล้วกดยืนยันอีกครั้ง จะพบข้อความการยืนยันโดเมนสำเร็จดังรูป
12. ที่หน้าการตั่งค่าของ Google ให้คลิกเลือก ตั้งค่าแอปพลิเคชั่นของคุณ แล้วเลือก บริการที่คุณต้องการใช้ (ในตัวอย่าง แนะนำให้เลือก 3 บริการที่เป็นที่นิยมมาก คือ email ปฏิทิน และเอกสาร) จากนั้นคลิก ถัดไป
13. เลือกที่ Email จากนั้นคลิกถัดไปเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งค่า
14. เลือกสลับการใช้งาน เพื่อจะสลับการใช้งานอีเมลจาก เซิร์ฟเวอร์ของ hostatom มาเป็นเซิร์ฟเวอร์ของ Google จากนั้นคลิกถัดไป
15. เลือก ผู้ให้บริการโฮสโดเมน อื่นๆ จากนั้นคลิกถัดไป
16. นำข้อมูลการตั้งค่าต่อไปนี้ไประบุไว้ที่การตั้งค่า MX Record ใน DirectAdmin Control Panel
17. เปิดหน้าต่างการตั้งค่า Google Apps ค้างไว้ก่อน แล้วมาลงชื่อเข้าใช้ที่ DirectAdmin Control Panel เลือกโดเมนที่ต้องการใช้บริการ Google Apps แล้วคลิกที่ MX Records
18. ในหน้า MX Records ให้ลบข้อมูล MX Records เก่าออกเสียก่อน โดยคลิกดังรูป
19. ระบุค่า Domain ที่ช่อง Name จากนั้นเพิ่มค่า MX Records ที่ได้รับมาจาก Google เข้าไปแทนที่ โดยกรอกทีละบรรทัด เลือก Value แล้วกด Add (อย่าลืมเติมจุดข้างหลังค่า Name ที่ได้มา สังเกตุตัวอย่างดังรูป ว่าต้องเติมจุดซ้ำทุกครั้ง หลัง COM. )
หากค่าตัวเลข หรือค่า Priority ที่ Google ระบุให้มา นั้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่เราจะใส่ได้ ที่ 0 10 20 30 40 … แต่ Google ระบุมาให้ที่ 1 5 10 .. นั้นให้คุณระบุค่าเรียงตามลำดับความมากน้อยได้เอง เช่น ใส่ค่า 10 แทนค่า 1 จากนั้นใส่ค่า 20 แทนค่า 5 และใส่ค่า 30 แทนค่า 10 ตามลำดับ
20. เมื่อระบุค่า MX Records เรียบร้อยแล้ว ให้ติกเครื่องหมายออกจาก Local Mail Server เพื่อยกเลิกให้เซิร์ฟเวอร์หลักจัดการระบบอีเมล์จากนั้นคลิก Save
21. กลับมาที่หน้า หลักของ DirectAdmin Control Panel จากนั้นคลิกที่ DNS Management
22. ทำการลบระเบียน A Records ของ mail pop smtp และ ลบระเบียน TXT Records ออกดังรูป ออกเนื่องจากคุณได้มอบหมายการจัดการอีเมลให้กับบริการ Google Apps แล้ว ระเบียนดังกล่าวจึงไม่จำเป็นอีก
23. จากนั้นเพิ่มระเบียน TXT Records ใหม่เข้าไปด้วยค่า
“v=spf1 include:_spf.google.com ~all”
จากนั้นคลิกที่ Add การตั้งค่านี้ระบุเพื่อไม่ให้อีเมลที่เราส่งออกไปติด Spam เนื่องจากสับสนว่าจดหมายมาจาก Server ใด เราจึงต้องตั้งค่าระบุว่าจดหมายถูกส่งจาก Server ของ Google
24. เมื่อแก้ไขในส่วนการตั้งค่า DNS เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตั้งค่าจะออกมาในลักษณะนี้
25. จากนั้นกลับมาที่หน้าการตั้งค่า Google Apps แล้วคลิกถัดไป
26. เลือกตัวเลือก ใช่ ฉันเปลี่ยนระเบียน MX ของ domain แล้ว
27. จากนั้นคลิกถัดไป เพื่อรอให้การตั้งค่าของ MX Records สมบูรณ์ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง
เมื่อ Mx Records อัพเดทเสร็จสมบูรณ์ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยครับ บริการต่างๆ ของ Google Apps ทั้งหมดก็จะพร้อมรอคุณใช้งานทันที