สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำเว็บไซต์ การสร้างเว็บให้เสร็จและออนไลน์ได้อาจดูเหมือนเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญที่สุด แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน และมักถูกมองข้ามโดยมือใหม่ก็คือการสำรองข้อมูล (Backup) และการกู้คืนข้อมูล (Restore) นั่นเอง เพราะถึงแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะดูไม่มีอะไรซับซ้อนหรือเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน หากมีข้อมูลเพียงนิดเดียวสูญหาย อาจทำให้คุณต้องมาเริ่มต้นใหม่หมดเลยก็ได้นะ
ทำไมต้อง Backup เว็บไซต์?
ในการทำเว็บ ไม่ว่าใครก็ตาม เว็บไซต์สามารถเกิดปัญหาได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะ….
- อัปเดตปลั๊กอิน/ธีม แล้วเว็บล่ม
- โดนมัลแวร์หรือแฮกเกอร์ลง
- ลบไฟล์ผิด หรือแก้โค้ดพลาด
- ย้ายโฮสต์แล้วข้อมูลไม่ครบ
- เกิดปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ
ไม่ว่าปัญหาจะเกิดจากอะไรก็ตาม หากไม่มีการสำรองข้อมูลเอาไว้เลย โอกาสในการกู้คืนเว็บกลับมาอาจจะยาก หรือไม่ได้เลยก็ได้ ซึ่งการมี Backup ไว้นี่แหละจะเปรียบเหมือนกับว่าเรามีชีวิตสำรองให้กับเว็บไซต์ ที่ช่วยให้กู้เว็บกลับได้ทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น
Backup ได้กี่แบบ?
1. Manual Backup (สำรองข้อมูลเอง)
การที่ผู้ใช้เข้าไปกดสำรองข้อมูลด้วยตัวเอง โดยผ่านช่องทางหลัก ๆ อย่าง Control Panel ที่ผู้ให้บริการ Hosting มีให้ (cPanel/DirectAdmin/Plesk) โปรแกรม FTP และการ Export ไฟล์จาก CMS (WordPress)
ข้อดี – ควบคุมเองได้ อยากสำรองข้อมูลตอนไหนก็ได้
ข้อเสีย – ต้องทำด้วยตัวเองเสมอ และอาจลืมสำรองข้อมูลได้
2. Automatic Backup (สำรองข้อมูลอัตโนมัติจากโฮสต์)
ปัจจุบันนี้ Hosting หลาย ๆ เจ้ามักจะมีระบบสำรองข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจมีบางรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น สำรองข้อมูลเป็นรายวัน/สัปดาห์/เดือน สำรองได้ทั้งไฟล์เว็บไซต์และฐานข้อมูล เก็บไฟล์ย้อนหลังได้หลายเวอร์ชัน เป็นต้น
ข้อดี – สะดวก ไม่ต้องทำเอง เหมาะกับมือใหม่
ข้อเสีย – บางโฮสต์อาจจำกัดจำนวนวันย้อนหลัง หรืออาจเก็บไฟล์ไว้ในที่เดียวกับเว็บ
3. Backup ผ่านปลั๊กอิน (สำหรับ WordPress)
อีกทางเลือกในการสำรองข้อมูลสำหรับผู้ใช้ WordPress ด้วยปลั๊กอินที่หลากหลาย เช่น UpdraftPlus, Duplicator หรือ All-in-One WP Migration
ข้อดี – ตั้งเวลาสำรองข้อมูลได้ และเลือกเก็บไฟล์ไว้ที่อื่น เช่น Google Drive หรือ Dropbox ได้
ข้อเสีย – ต้องติดตั้งปลั๊กอินเอง และต้องมีพื้นที่บนคลาวด์
Backup แล้ว ก็อย่าลืม Restore ด้วยล่ะ
แน่นอนว่าการมี Backup อย่างเดียวยังไม่พอ อีกสิ่งที่หลายคนมักลืมคือ การ Restore หรือการกู้คืนเว็บไซต์กลับมาหลังจากเกิดปัญหา หากไม่มีวิธี Restore ที่ง่ายและรวดเร็ว ข้อมูลที่สำรองไว้ก็แทบจะไร้ประโยชน์เลยล่ะ
Restore ข้อมูลผ่านช่องทางไหนได้บ้าง?
- 1-Click Restore ผ่านหน้าโฮสต์
- แจ้ง Support ให้ช่วยกู้ข้อมูล
- ใช้ปลั๊กอิน Restore บน WordPress (เช่น UpdraftPlus)
คำถามที่ควรถามก่อนเลือกใช้ Hosting
- Restore ข้อมูลเองได้ไหม?
- เก็บไฟล์ Backup ไว้กี่วัน?
- มีค่าบริการเมื่อขอให้ Restore ข้อมูลหรือเปล่า?
เคล็ดลับในการจัดการ Backup ให้เวิร์ก
- ตั้งให้ Backup อัตโนมัติไว้เสมอ (แนะนำเป็นรายวัน)
- เก็บ Backup แยกจากโฮสหลัก เช่น บน Google Drive หรือ Dropbox
- เช็กว่า Restore ได้ง่ายไหม มีปุ่มให้กู้คืนเองหรือไม่
- ทดสอบกู้ข้อมูลดูบ้าง เพื่อความมั่นใจว่าใช้ได้จริง
สรุปแล้วไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะเล็กแค่ไหน การ Backup และ Restore คือสิ่งที่ต้องมีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าเว็บไซต์พังขึ้นมา การมี Backup เผื่อไว้จะช่วยคุณประหยัดเวลา ความเครียด และเงินในกระเป๋าได้มากกว่าที่คิด
สำหรับใครที่กำลังมองหาโฮสติ้ง hostatom มีบริการ Web Hosting คุณภาพสูงสำหรับผู้ใช้ในไทย ทั้งใช้งานง่าย เสถียร ปลอดภัย พร้อมระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติย้อนหลัง 21 วัน 21 ชุด ดูแลโดยทีมผู้เชี่ยวชาญคอยเคียงข้างคุณทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน แก้ไขปัญหา ไปจนถึงแนะนำแนวทางการใช้งานอย่างมืออาชีพ