
สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์หลายๆ ท่าน คงเคยได้ยินคำว่า “sitemap” มาบ้างแล้ว แต่รู้ไหมว่า “sitemap” คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์อย่างไร
Sitemap คืออะไร
แปลตรงๆ เลยก็คือแผนผังของเว็บไซต์ ซึ่ง sitemap นั้นจะเป็นตัวบอกว่าเว็บไซต์นั้นมีหน้าอะไรบ้าง และสามารถเข้าแต่ละหน้าผ่านทางลิงก์ใด พูดง่ายๆ sitemap ก็เปรียบเสมือนหน้าสารบัญของเว็บไซต์นั่นเอง ซึ่งมีความสำคัญสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการทำ SEO อย่างมาก
ความสำคัญของ Sitemap
การมี Sitemap จะทำให้ Bot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาสำรวจเว็บไซต์ของเราได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว สามารถระบุได้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เรานั้น มีข้อมูลประเภทไหนบ้างได้ภายในหน้าเพจเดียว จึงมีส่วนช่วยอย่างมากที่จะทำให้เว็บไซต์เราติดหน้า Search ได้
sitemap มีอยู่ 2 ประเภท
1.HTML Sitemap สำหรับผู้เข้าชมทั่วไป
HTML Sitemap จะเป็นหน้าเว็บไซต์ธรรมดานี่ ที่สร้างมาเพื่อให้ผู้ชมคลิกเข้ามาดูแผนผังเว็บไซต์ของเรา ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง และอยู่ตรงไหน เพื่อให้ผู้ชมสามารถคลิกเข้าชมเนื้อหาที่ต้องการได้เลย
ทำไมถึงต้องมี HTML Sitemap นั่นก็เพราะบางเว็บมีเนื้อหาหรือมีหน้า web page หลายสิบหน้า หรือมีเป็นร้อยๆ หน้า ซึ่งบางทีก็อาจมีหน้า web page ที่ซ้อนกันอยู่ภายใต้เมนูย่อยๆ หลายชั้น บางหน้าอาจจะเป็น Link ที่วางต่อจากอีกหน้านึงที่เมนูหลัก ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง HTML Sitemap ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกไปยังเนื้อหานั้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างหน้า HTML Sitemap ของ Apple

2. sitemap.xml สำหรับ search engine bot อย่าง google และ bing
sitemap.xml จะทำให้ Bot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาสำรวจเว็บไซต์ของเราได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว สามารถระบุได้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เรานั้น มีข้อมูลประเภทไหนบ้างอยู่ที่ตำแหน่งใดบ้าง เป็นการเพิ่มโอกาสให้บอทของ Search Engine สามารถไต่เก็บข้อมูลทุก URL และทุกหน้าของเว็บไซต์ของเรา
เราเช็คว่าเว็บไซต์ของเรามี sitemap.xml หรือไม่ โดยให้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของเราบนเบราว์เซอร์ ชื่อโดเมน/sitemap.xml ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของเราใช้โดเมนว่า demo.sandbox.in.th ก็ให้พิมพ์ demo.sandbox.in.th/sitemap.xml

ดังนั้น sitemap.xml จึงมีความสำคัญต่อการทำ SEO มากๆ ส่งผลให้เว็บไซต์ของเราแสดงผลในหน้าค้นหา
ควรเริ่มทำ sitemap.xml เมื่อไหร่
ควรทำตั้งแต่เริ่มทำเว็บไซต์เลยจะดีมากๆ เพราะเราจะได้รู้ว่าเว็บไซต์ที่เราจะทำนั้นมีกี่หน้า กี่เมนู กี่ลิงก์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของเว็บไซต์ได้
วิธีการสร้าง sitemap.xml
วิธีการสร้าง sitemap.xml มีหลายวิธี แต่เราได้เลือกวิธีที่ง่ายมา 3 วิธี ได้แก่
- XML Sitemap Generator (กรณีใช้เมื่อเว็บสร้างด้วยโปรแกรมอื่นๆ เช่น html, ASP, ฯลฯ)
- ใช้ WordPress Plugin (กรณีใช้เมื่อเว็บสร้างด้วยโปรแกรม WordPress)
- สร้าง sitemap.xml เอง
สร้าง sitemap.xml เอง
สำหรับการสร้าง sitemap.xml เองนี้ไม่เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับเว็บไซต์ขนาดเล็ก มี URL ไม่เยอะ และไม่แนะนำให้สร้างเอง เพราะมีความเสี่ยงที่จะผิดพลาดสูง
การสร้าง sitemap.xml เองสามารถทำได้โดยเขียนโค้ด โดยใช้โปรแกม notepad หรือ notepad++ ก็ได้ จากนั้นให้บันทึกชื่อไฟล์ว่า sitemap.xml
ตัวอย่างของไฟล์ sitemap.xml
<?xml version="1.0" encoding="utf-8"?>
<urlset xmlns="http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/0.9">
<url>
<loc>http://www.demo.sandbo.in.th/a.html</loc>
<lastmod>2021-08-26</lastmod>
<changefreq>Daily</changefreq>
<priority>1.0</priority>
</url>
<url>
<loc>http://www.demo.sandbo.in.th/b.html</loc>
<lastmod>2021-08-30</lastmod>
<changefreq>Monthly</changefreq>
<priority>1.0</priority>
</url>
<url>
<loc>http://www.demo.sandbo.in.th/c.html</loc>
<lastmod>2021-08-30</lastmod>
<changefreq>Monthly</changefreq>
<priority>1.0</priority>
</url>
</urlset>
คำสั่ง
urlset
URL
loc
ความหมาย
ค่ามาตรฐานของ Sitemap
คำสั่งลิงก์แต่ละเพจ ซึ่งจะต้องมี tag ปิดด้วยเสมอ
ลิงก์แต่ละหน้าเพจของเว็บไซต์ จะรวมถึง http และต้องมีอักขระรวมกันไม่เกิน 2,048 ตัวอักษร
lastmod
วันที่และเวลาที่ทำการอัปเดตหน้าเพจ จะใส่เป็นวันที่เต็มหรือจะเป็นวันที่แบบ yyyy-mm-dd ก็ได้
changefreq
ระยะเวลาที่ทำการอัปเดตหน้าเพจนี้ โดยจะบอกให้ Bot ทราบว่าจะต้องมาเก็บข้อมูลหน้าเพจนี้บ่อยแค่ไหน สามารถระบุได้ว่าจะให้มาเก็บแบบไหน เช่น
– always บ่อยๆ
– hourly ทุกชั่วโมง
– daily ทุกวัน
– weekly ทุกสัปดาห์
– monthly ทุกเดือน
– yearly ทุกปี
– never ไม่ต้อง
ข้อควรระวัง ในกรณีที่เลือกให้ Bot มาเก็บบ่อยๆ เช่น ทุกวัน ทุกชั่วโมง แต่หน้าเพจนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเหมือนเดิมทุกประการ เมื่อ Bot เข้ามาเก็บบ่อยๆ แล้วเจอข้อมูลเหมือนเดิม Bot อาจจะไม่เข้ามาเก็บหน้าเพจนั้นอีกเลยก็ได้
<priority>
ลำดับความสำคัญของหน้าเพจนั้นๆ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 หากค่าเป็น 1.0 นั่นหมายถึงว่าสำคัญมาก และ 0.0 สำคัญน้อยที่สุด ซึ่งหากไม่ใส่ในส่วนนี้เลยจะเป็นค่ามาตรฐานคือ 0.5
sitemap นั้นสามารถมี URL ได้ไม่เกิน 50,000 เว็บและมีขนาดไม่เกิน 10 MB ต่อ 1 ไฟล์
ทีนี้เมื่อเราได้ sitemap.xml เราก็รอให้ Bot ของ Search Engine ต่างๆ เข้ามาเก็บข้อมูลไป แต่หากใครรอไม่ไหวก็ให้ไปเพิ่มใน Google Search Console เลย