ในกรณีคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ ส่วนใหญ่ก็มักจะใช้คำสั่ง ping เพื่อทำการตรวจสอบหรือเช็คว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอยู่หรือไม่
แล้วรู้หรือไม่ว่าคำสั่ง Ping จริงๆ แล้วคืออะไร มีไว้ทำไม วันนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้กัน
คำสั่ง Ping คือ?
Ping มาจากคำเลียนเสียงสัญญาณ ultra sonic ของเรือดำน้ำ หรือค้างคาว ที่เอาไว้บอกเราว่า ด้านหน้ามีสิ่งกีดขวางใกล้เราแค่ไหน ซึ่งระบบ ultra sonic จะส่งสัญญาณที่เรียกว่า echo ออกไป ถ้ามีวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง มันจะส่งสัญญาณหรือ echo สะท้อนกลับมา เพื่อให้เรารู้ว่าวัตถุนั้นอยู่ใกล้เราแค่ไหน จึงมีการใช้หลักการทำงานนี้เพื่อให้อุปกรณ์ต้นทาง ส่งสัญญาณ echo ไปยังอุปกรณ์ปลายทางผ่าน Network หรือ Internet แล้วจับเวลาการตอบกลับ เพื่อดูเส้นทาง และความใกล้กันของอุปกรณ์ทั้งสองตัว
ทำให้ Ping เป็นระบบพื้นฐานที่จะมีอยู่ในระบบปฏิบัติการ และทุกอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเน็ตเวิร์ค เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบว่าอุปกรณ์นั้นได้เชื่อมเชื่อกับอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายหรือไม่
Ping ทำงานอย่างไร?
วิธีการทำงานของ Ping จะส่ง Packet ข้อมูลขนาดเล็ก ชนิด ICMP แบบ echo ซึ่งร้องขอการตอบกลับ ไปยังอุปกรณ์บนระบบเครือข่ายปลายทาง เมื่ออุปกรณ์ปลายทางได้รับคำสั่งก็จะส่ง echo Packet ICMP นั้นๆ ตอบกลับมายังอุปกรณ์ต้นทาง ผลลัพธ์ของแต่ละคำขอที่แสดงนั้นจะบอกให้เราทราบว่าคำ Packet ส่งไปนั้นส่งสำเร็จหรือไม่ เมื่อส่งไปถึงแล้ว รวมเวลาเดินทางไป และกลับของ Packet นั้นใช้เวลาเท่าไหร่ รวมไปถึงสถิติของ Packet ที่อาจสูญเสียไปเพื่อตรวจสอบความเสถียรภาพของระบบ
คำสั่ง Ping มีอะไรบ้าง
วิธีการใช้คำสั่ง ping ก็ให้พิมพ์ ping แล้วตามด้วยชื่อโดเมนหรือ IP address เช่น ping google.com หรือ ping 1.1.1.1 เป็นต้น
วิธีการใช้คำสั่ง Ping สามารถดูได้ที่ วิธีตรวจสอบค่า ping ของเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ping อื่นๆ อีก หรือที่เรียกว่า Ping command syntax หากเราต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้ให้พิมพ์ ping -t google.com โดยที่ -t นั้นสามารถเปลี่ยนได้ตามที่เราต้องการ
คำสั่ง Ping command syntax ได้แก่
คำสั่ง | ความหมาย |
---|---|
-t | ส่ง Ping ไปยังโฮสต์ปลายทางได้ไม่ จำกัด หากต้องการหยุดเราจะต้องกดคีย์ผสม control + c |
-a | สามารถแก้ไขที่อยู่ในชื่อโฮสต์ หากป้อนตัวเลือกนี้ตามด้วยที่อยู่ IP ผลลัพธ์ที่ได้คือจะแสดงชื่อของเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง |
-n | ระบุจำนวนคำขอ ping ที่เราต้องการ ในการทำเช่นนี้เราจะต้องป้อนตัวเลือก -n เว้นวรรคตามด้วยจำนวนคำขอที่เราต้องการ |
-l | ระบุขนาดบัฟเฟอร์ของคำขอ ping ที่เราต้องการสร้าง |
-f | ใช้ในการตั้งค่าเครื่องหมายของpacket โดยจะใช้งานได้กับ IPv4 เท่านั้น |
-i | ใช้ระบุอายุการใช้งาน (Time To Live) ของคำขอ ping โดยสามารถมีค่าได้ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 255 |
-r | ใช้เพื่อบันทึกเส้นทางและนับจำนวนครั้งในการกระโดด (hop) จนกว่าจะถึงปลายทาง ค่าสูงสุดของการนับคือ 9 สูงสุดที่คำขอ ping โดยจะใช้งานได้กับ IPv4 เท่านั้น |
-s | นับเวลาในการกระโดด (hop) แต่ละครั้ง ค่าสูงสุดของการนับคือ 4 โดยจะใช้งานได้กับ IPv4 เท่านั้น |
-j | เป็น ping เพื่อตรวจสอบเป้าหมายแบบธรรมดา โดยจะพิมพ์ ping -j ตามด้วย IP หรือโดเมนต้นทางที่ต้องการ ใช้งานได้กับ IPv4 เท่านั้น |
-k | เป็น ping เพื่อตรวจสอบเป้าหมายแบบละเอียด โดยจะพิมพ์ ping -j ตามด้วย IP หรือโดเมนต้นทางที่ต้องการ ใช้งานได้กับ IPv4 เท่านั้น |
-w | กำหนดเวลารอคอยการตอบกลับ โดยมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที โดยจะพิมพ์ ping -w ตามด้วยเวลา |
-R | ใช้เพื่อติดตามเส้นทางการตอบกลับ โดยจะใช้งานได้กับ IPv6 เท่านั้น |
-S | ใช้เพื่อระบุที่อยู่ต้นทาง |
-c | มีไว้สำหรับการกำหนดเส้นทางตัวระบุช่องว่าง |
-p | ช่วยให้สามารถ ping ไปยัง server จำลองได้ |
-4 | ให้ใช้เฉพาะ IPv4 เท่านั้น |
-6 | ให้ใช้เฉพาะ IPv6 เท่านั้น |
หลังจากใช้คำสั่ง ping เราจะได้คำตอบ 2 แบบคือ
1.Reply from… สามารถติดต่อกับปลายทางได้
- ฺbytes ขนาดของ packet ข้อมูลที่ส่ง
- time เวลาที่ใช้ในการส่งและตอบกลับจาก Server ปลายทาง
- TTL เวลาที่ใช้ในการตอบกลับ
Ping statistics จะเป็นสถิติของคำร้องที่ส่งไปยัง server
- packet คือ จำนวน packet ที่ถูกส่งไปยัง Server
- Received คือ จำนวน packet ที่ Server ได้รับ
- Lost จำนวน packet ที่ Server ไม่ได้รับ
Approximate round trip times in milli-seconds: เป็นเวลาที่ใช้ในการส่งคำขอและการตอบกลับหน่วยเป็นมิลลิวินาที
- Minimum เวลาที่ใช้น้อยที่สุด
- Maximum เวลาที่ใช้มากที่สุด
- Average เวลาเฉลี่ย
2. Request time out ติดต่อกับปลายทางไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดได้ทั้งทางฝั่งเรา หรือฝั่งปลายทางก็ได้ ทั้งนี้ต้องดูจาก error ที่พบอีกที
คำสั่ง ping จะช่วยให้เรารู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายปลายทางหรือไม่ ช่วยบอกได้ว่าระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อนั้นอยู่ใกล้หรือไกลจากเราแค่ไหน และบอกความเสถียรอุปกรณ์ปลายทางที่ทำการเชื่อมต่อได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเน็ตเวิร์คได้