เมื่อเราเพิ่มเว็บไซต์เข้า Google Search Console เรียบร้อยแล้ว เรามาดูวิธีการใช้งานกันดีกว่า โดยเราจะขอเริ่มการอธิบายการใช้งานในแต่ละส่วน ดังนี้
ภาพรวม (Overview)
เป็นหน้ารายงานการทำงานของเว็บไซต์โดยรวม ซึ่งจะแสดงข้อมูลสรุปรายงานที่สำคัญของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบ URL เป็นต้น
Performance (ผลการปฏิบัติงานของเว็บไซต์)
ในส่วนนี้จะรายงานผลการทำงานของเว็บไซต์ โดยจะแสดงข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถดูรายงานนี้ได้ที่เมนูด้านซ้ายมือ แล้วคลิกที่ Performance
ในส่วนนี้สามารถดูข้อมูลการคลิก (Clicks) และการแสดงผล (Impressions) ของแต่ละวันได้ หรือสามารถทำการกรอง (Filter) เพื่อดูข้อมูลตามความต้องการได้
Filter (การกรองข้อมูล) มีดังนี้
ค้นหาตามประเภทการค้นหา (Search Type) ให้คลิกที่ Search Type => ที่ Filter เลือกประเภทการค้นหา ได้แก่ Web, Image, Video และ News
ที่แท็บ Compare คุณสามารถเปรียบเทียบผลการค้นหาย้อนหลังได้
การค้นหาตามช่วงวัน (Date)
หากต้องการค้นหาตามช่วงวันสามารถทำได้โดย คลิกที่ Date ระบบจะแสดงหน้า Date range ขึ้นมา
ที่แท็บ Filter สามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องการค้นหาได้ แต่หากเลือก Custom จะย้อนหลังไปได้ไม่เกิน 16 เดือน
ที่แท็บ COMPARE สามารถดูการเปรียบเทียบข้อมูลตามช่วงเวลาที่ที่แตกต่างกันได้ เช่น อยากดูประสิทธิภาพของเว็บไซต์ 7 วันล่าสุดกับ 7 วันก่อนหน้านี้ เป็นต้น หรือจะเลือกช่วงเวลาที่ต้องการเปรียบเทียบได้
ตัวกรองเพิ่มเติม (+NEW)
ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูข้อมูลตามความต้องการได้ โดย คลิกที่ + NEW ซึ่งจะมีตัวเลือก ดังภาพ
รายละเอียดคำสั่งในการค้นหาแต่ละแบบมีดังนี้
- Query…: เป็นการค้นหาตามคำสำคัญ ข้อความหรือ Key word
- Page…: ค้นหาตามหน้าเพจที่มีผู้เข้าชม
- Country..: ค้นหาตามประเทศของผู้เข้าชมเว็บไซต์
- Device…: ค้นหาการเข้าชมตามอุปกรณ์ที่เข้าเว็บไซต์
- Search appearance…: ลักษณะที่ปรากฎในการค้นหา
เมตริก (Metrics)
จากภาพด้านบน ที่ช่องสี่เหลี่ยมด้านบนจะเป็นการเลือกการแสดงผลของกราฟ โดยมีให้เลือก 4 แบบ ดังนี้
- Clicks (การคลิก) คือการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ในหน้าผลการค้นหาของ Google Search (อันนี้ไม่รวมคลิกจาก Google Ads นะคะ)
- Impressions (การแสดงผล) คือจำนวนครั้งที่ URL เว็บไซต์ปรากฎผลในหน้าผลการค้นหาของ Google Search (อันนี้ไม่รวมคลิกจาก Google Ads นะคะ)
- CTR (Clickthrough rate) เป็นอัตราการคลิก โดยจะคิดจาก (จำนวนคลิก/จำนวนผลการแสดง) x 100
- Position (ตำแหน่ง) อันดับเฉลี่ยของ URL เว็บไซต์ที่จะแสดงผล ในหน้าค้นหา เช่น URL ของคุติดอันดับค้นหาอันดับที่ 3 และอันดับที่ 7 อันดับเฉลี่ย = (3+7)/2 ดังนั้นอันดับเฉลี่ยคือ 5 เป็นต้น
URL inspection (การตรวจสอบ URL)
เมนูนี้มีไว้เพื่อเช็คว่า Google ได้เข้ามาเก็บข้อมูล (indexing) เว็บเราไปหรือยัง วันที่เก็บล่าสุดคือวันไหน และดูว่าเว็บของเรารองรับการใช้งานมือถือแล้วหรือยัง ซึ่งหากเว็บไซต์ของเรามีการอัปเดต ก็สามารถมากดปุ่ม Request Indexing เพื่อบอกให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์เราได้
โดยในส่วนนี้จะมีรายงาน Error หรือข้อผิดพลาดของเว็บไซต์ที่ Google ยังมองว่าเว็บไซต์ของเรามีจุดไหนที่ต้องปรับแก้ไขบ้างด้วย อย่างเช่นลิงก์ URL ยาวเกินไป หรือภาพมีขนาดใหญ่ไปเป็นต้น ซึ่งหากมีการอัปเดตบทความหรืออัปเดตเว็บไซต์ และอยากให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลที่เราอัปเดต ให้คลิกที่ Request Indexing
Google Search Console เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยดูแลเว็บไซต์ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย อีกทั้งยังมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความปลอดภัย รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ซึ่งหากเราปรับหรือทำตามที่ Google บอก การที่เว็บของเราจะติดอันดับหน้าแรกในหน้าค้นหา ก็เป็นเรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลย!!!