ข้อผิดพลาดการออกแบบเว็บที่คุณควรรู้และหลีกเลี่ยง

การออกแบบเว็บไซต์ที่สวยงามและใช้งานง่ายเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากเว็บช้า อืด รอนาน และโหลดช้าก็อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกหงุดหงิดและไม่อยากกลับมาอีก ดังนั้นจะเน้นที่ความสวยงามอย่างเดียวไม่ได้

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บ และบอกวิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น เพื่อให้เว็บของคุณนั้นสามารถใช้งานง่าย และตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง

1. เว็บไซต์โหลดช้า

ความเร็วในการโหลดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาผู้ใช้งาน หากหน้าเว็บไซต์โหลดช้าเกินไป ผู้ใช้จะรู้สึกหงุดหงิดและอาจออกจากเว็บไซต์ก่อนที่โหลดเสร็จ

mistake web design

2. การออกแบบที่ไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ

ปัจจุบันผู้คนใช้อุปกรณ์มือถือในการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น หากเว็บไซต์ของคุณไม่ได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานบนมือถือ อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าถึงข้อมูล เช่น ต้องซูมเข้า ซูมออก หรือเลื่อนซ้ายขวาเพื่ออ่านเนื้อหาที่แสดงบนหน้าจอ อาจทำให้ผู้ใช้เลือกออกจากเว็บไซต์ไป โดยไม่กลับมาอีก ดังนั้น หากคุณไม่ปรับปรุงให้เว็บไซต์ของคุณใช้งานง่ายบนมือถือ คุณอาจเสี่ยงที่จะสูญเสียผู้เข้าชมแทบทั้งหมดไปเลย!

วิธีแก้ไข

  • ใช้ Responsive Design เพื่อให้เว็บไซต์ปรับตัวได้ตามขนาดหน้าจอ
  • ทดสอบเว็บไซต์บนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เพื่อให้มั่นใจว่าแสดงผลได้ถูกต้อง
  • ปรับขนาดปุ่มและลิงก์ให้เหมาะกับการใช้งานบนมือถือ
  • ใช้ CSS Grid และ Flexbox อย่างถูกต้อง

3. เมนูลึกลับซับซ้อน

เว็บไซต์ไม่ใช่เกมซ่อนหานะคะ ไม่จำเป็นต้องซ่อนเมนู บางเว็บนี่ต้องเลื่อนไปจนสุดกว่าจะเจอเมนู หรือซ่อนไว้ใต้ปุ่มหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บที่มองแทบไม่เห็น จนต้องซูมหรือเพ่งมองดีๆ ถึงจะเห็น

วิธีแก้ไข

  • วางเมนูในตำแหน่งที่ชัดเจนและมองเห็นได้ง่าย
  • ออกแบบเมนูให้เป็นลำดับ หมวดหมู่
  • ใช้ไอคอนหรือป้ายที่ดูแล้วรู้เลยว่านี่คือเมนู
  • ออกแบบเมนูให้สามารถแสดงผลได้ทุกอุปกรณ์

4. ข้อมูลที่ไม่อัปเดต

บางคนทำเว็บเสร็จแล้วก็แล้วไป ไม่มีการอัปเดตข้อมูลให้ทันสมัย หรือข้อมูลเว็บเก่าไปแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย ส่งผลให้คนเข้ามาดูครั้งเดียวแล้วก้อหายไปเลย ไม่กลับมาอีก เปรียบเสมือนกับร้านค้าที่วางสินค้าเก่าหรือปิดกิจการไปแล้ว แต่ยังคงแสดงป้ายโฆษณาหรือข้อมูลเดิม ๆ

วิธีแก้ไข

  • คอยอัปเดตข้อมูลเว็บไซต์อยู่เสมอ
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทุกครั้งก่อนเผยแพร่
  • เพิ่มระบบแจ้งเตือนหรือหมั่นตรวจสอบเมื่อมีข้อมูลที่ต้องอัปเดต

5. ขาดการใช้พื้นที่ว่าง (Whitespace) อย่างเหมาะสม

พื้นที่ว่างมีบทบาทสำคัญในการทำให้เว็บไซต์ดูโปร่งและอ่านง่าย การใช้พื้นที่ว่างที่ไม่เหมาะสม หรือการจัดวางเนื้อหาหรือกราฟิกมากเกินไป จะทำให้เว็บไซต์ดูรกและไม่สบายตา

วิธีแก้ไข

  • อย่าใส่ข้อมูลในส่วนเดียวจนเยอะเกินไป
  • เพิ่มระยะห่างระหว่างข้อความและ องค์ประกอบต่างๆ ให้เหมาะสม พอดี ไม่ห่าง ไม่ชิดจนเกินไป
  • แยกบรรทัด และขอบเขตของเนื้อหาแต่ละส่วนให้ชัดเจน

6. การใช้ Pop-up ที่มากเกินไป

การใช้ Pop-up ที่เยอะเกินไป มารัวๆ เป็นปืนกลแบบนี้ แทนที่จะน่าสนใจ กลับสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ กว่าจะได้อ่านเนื้อหาต้องมานั่งปิด Pop-up เหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่อยาก

วิธีแก้ไข

  • ใช้ Pop-up เท่าที่จำเป็น อย่าเยอะจนเกินไป
  • กำหนดเวลาหรือความถี่ในการแสดง อย่าให้ถี่เกินไป
  • ผู้ใช้สามารถปิด Pop-up ได้ง่าย
  • ควรใช้ Pop-up เพียงในบางหน้าไม่ใช่ทุกหน้า

7. ใช้ฟอนต์และสีที่ไม่เหมาะสม

การเลือกใช้ฟอนต์หรือสีที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถอ่านเนื้อหาได้ง่าย ไม่สบายตา หรือทำให้เว็บไซต์ดูไม่น่าสนใจ ควรเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย และ สีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างพื้นหลังและข้อความเพื่อให้การอ่านข้อมูลสะดวก

วิธีแก้ไข

  • เลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย
  • หลีกเลี่ยงการใช้สีที่สดเกินไปหรือฟอนต์ที่อ่านยาก
  • ใช้ขนาดของฟอนต์ที่เหมาะสม (แนะนำ ไม่ควรต่ำกว่า 16px)
  • ทดสอบลองอ่านบนอุปกรณ์หลายๆ ขนาด

8. การออกแบบที่ไม่คำนึงถึง SEO (Search Engine Optimization)

การออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่รองรับการทำ SEO อาจทำให้เว็บไซต์ไม่ติดอันดับการค้นหาใน Google หรือเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ เปรียบเหมือนเปิดร้านในซอยที่ลึกลับ ไม่มีป้ายบอกทาง ทำให้ลูกค้าหาร้านไม่เจอ ดังนั้นต่อให้เว็บคุณดีแค่ไหน ค้นหาไม่เจอ ก็ไม่ประโยชน์

วิธีแก้ไข

  • ใช้คำหลัก (keywords) ที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาของเว็บไซต์
  • ใช้แบบ URL ให้สั้นและมีความหมาย
  • เพิ่มคำบรรยาย (alt text) ให้กับภาพทุกภาพ
  • สร้างลิงก์ภายในเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงหน้าเพจต่างๆ

9. การขาดการทดสอบเว็บไซต์

ก่อนที่จะเผยแพร่เว็บ อย่าลืม!! ทดสอบเว็บไซต์ก่อน เพราะบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นข้อผิดพลาดในตอนที่ออกแบบ แต่พอเอาไปใช้งานจริงเกิดปัญหา

วิธีแก้ไข

  • ทดสอบเว็บไซต์ในหลายเบราว์เซอร์และหลายๆ อุปกรณ์
  • ตรวจสอบความเร็วการโหลดหน้าเว็บ
  • ทดสอบฟังก์ชันต่างๆ อย่าง ลิงก์และแบบฟอร์ม เป็นต้น
  • ฟังคำแนะนำจากผู้ใช้งานจริง หรือสอบถามความเห็นเพื่อปรับปรุงเว็บ
  • ทำ A/B เพื่อเปรียบเทียบการออกแบบและฟังก์ชัน

10. ไม่รองรับการเข้าถึง (Accessibility)

การออกแบบเว็บที่ไม่รองรับการเข้าถึง (Accessibility) ทำให้ผู้ใช้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้พิการทางสายตาหรือการเคลื่อนไหว ไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่

วิธีแก้ไข

  • ออกแบบให้รองรับการใช้งานผ่านทางแป้นพิมพ์
  • สร้างเว็บให้รองรับโปรแกรมช่วยอ่าน
  • จัดทำคำอธิบายเสียง (audio description) สำหรับเนื้อหาวิดีโอ
  • ใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและสามารถปรับขนาดได้

การออกแบบเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ และสิ่งที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น เว็บไซต์โหลดช้า หรือไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไม่พึงพอใจและอาจออกจากเว็บไซต์ไป

การเลือกโฮสติ้งที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของเว็บไซต์ เช่น hostatom ที่มอบบริการโฮสติ้งที่มีความเร็วสูงและรองรับการออกแบบเว็บไซต์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วและมีประสิทธิภาพในการให้บริการผู้ใช้งาน

Was this article helpful?

Related Articles