ผู้ใช้สามารถสร้างบัญชีไว้สำหรับ login เพื่อใช้บริการต่างๆ ของ Cloudflare ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากเปิดเบราว์เซอร์แล้วไปยังหน้าลงทะเบียนของ Cloudflare กำหนดอีเมลและรหัสผ่านที่ต้องการใช้ login เข้าใช้งาน Cloudflare โดยในรหัสผ่านจำเป็นต้องมีตัวอักษร ตัวเลขและอักขระพิเศษขั้นต่ำ 8 ตัว จากนั้นคลิกที่ Sign up เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะพามายังหน้าหลักของ Cloudflare ดังภาพตัวอย่าง
วิธีเพิ่ม service plan ใน Plesk
สำหรับผู้ที่ใช้งาน control panel ของ Plesk ในระดับ reseller สามารถเพิ่ม service plan สำหรับใช้งานกับ subscription ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน Plesk คลิกที่ Service Plans คลิกที่ Add a Plan กำหนดรายละเอียดของ service plan ที่ต้องการสร้าง เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่แท็บ Log & Statistics นำติ๊กถูกที่ Retain web and traffic statistics for _____ months ออก จากนั้นคลิกที่ OK ระบบจะแจ้งว่าได้ทำการสร้าง service plan ดังกล่าวขึ้นมาแล้ว
วิธีเพิ่มค่า DNS ใน Plesk
DNS (Domain Name System) เป็นระบบที่มีไว้สำหรับบริหารจัดการข้อมูลของโดเมน และทำหน้าที่แปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP หากผู้ใช้ต้องการเพิ่มค่า DNS บนโดเมนของผู้ใช้ใน control panel ของ Plesk สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน Plesk คลิกที่ DNS Settings ในโดเมนที่ต้องการเพิ่มค่า DNS คลิกที่ Add Record เลือกประเภทของ DNS ที่ต้องการเพิ่มในหัวข้อ Record type จากนั้นกำหนดค่าของ DNS ที่ต้องการเพิ่ม เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ OK ประเภทของค่า DNS ที่สามารถเพิ่มได้ จะมีอยู่ 10 ประภท ได้แก่ ระบบจะแจ้งว่าการเพิ่มค่า DNS ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกบันทึก ให้คลิกที่ Update เพื่อบันทึกการเพิ่มค่า DNS […]
วิธีตรวจสอบ trace route ของเว็บไซต์
Trace route (Tracert) เป็นการตรวจสอบเส้นทางการเชื่อมต่อ network โดยมีการคำนวณและแสดงผลจำนวนเวลารวมในแต่ละรอบที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบว่าจากเครื่องผู้ใช้ไปยัง server นั้นต้องวิ่งผ่านเส้นทางไหนบ้าง ระหว่างทางผ่าน server ใดบ้าง โดยผลที่แสดงออกมาจะเป็นหมายเลข IP โดยผู้ใช้สามารถตรวจสอบ trace route ของเว็บไซต์ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากเปิด Command Prompt ขึ้นมา พิมพ์คำสั่ง tracert [ชื่อโดเมน] จากนั้นกด Enter (ในคู่มือนี้จะใช้เป็น tracert hostatom.com) ระบบจะแสดงเส้นทางการเชื่อมต่อ network ขึ้นมาดังภาพภาพตัวอย่าง
วิธีหาตำแหน่งของไฟล์ php.ini
การแก้ไข LAMP Server ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง Configuration, Optimization หรือ Secured server ล้วนต้องมีการเข้าแก้ไขไฟล์ php.ini อยู่บ่อยครั้ง โดยหลายครั้งจะพบว่า Operating System หรือ Web Control panel ต่างชนิดกัน จะเก็บ php.ini ไว้ต่างที่กันทำให้ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วไฟล์ php.ini นั้นเก็บไว้ยังตำแหน่งใด แต่มีวิธีที่ผู้ใช้สามารถระบุตำแหน่งของไฟล์ php.ini ได้ง่ายๆ ตามวิธีต่อไปนี้ วิธีที่ 1 : รันคำสั่งผ่าน command line บน server รันคำสั่ง php -i | grep php.ini บน sever ของผู้ใช้ วิธีที่ 2 : […]
วิธีกำหนดจำนวนการส่งอีเมลของผู้ใช้ทุกบัญชีใน DirectAdmin
สำหรับผู้ที่ใช้งาน control panel ของ DirectAdmin สามารถ import ข้อมูลของ user package ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน DirectAdmin คลิกที่ Administrator Settings คลิกที่แท็บ E-mail Settings กำหนดการตั้งค่าต่อไปนี้ตามที่ต้องการ ระบบจะแจ้งว่าได้ดำเนินการบันทึกการตั้งค่าดังกล่าวแล้ว
วิธี restore ข้อมูลสำหรับ user ใน DirectAdmin
ผู้ที่ใช้ control panel ของ DirectAdmin ระดับ user สามารถ restore ข้อมูลที่ได้ทำการ backup ไว้ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน DirectAdmin คลิกที่ Create/Restore Backups ในหมวด Advanced Features คลิกที่ RESTORE BACKUP เลือก backup ที่ต้องการ restore ในหัวข้อ Backup ติ๊กถูกที่ข้อมูลที่ต้องการ restore ในหัวข้อ Restore Options เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกที่ RESTORE รายละเอียดข้อมูลการ restore หมวด Website Data——————————————— หมวด Email——————————————— หมวด FTP——————————————— หมวด Databases——————————————— หมวด Trash——————————————— […]
วิธีอัปเดตเวอร์ชัน DirectAdmin
สำหรับผู้ที่ใช้งาน control panel ของ DirectAdmin ในระดับ admin สามารถอัปเดตเวอร์ชันของ DirectAdmin ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน DirectAdmin คลิกที่ Updates ในหมวด Support & Help เลือกการอัปเดต DirectAdmin ในหัวข้อ Update Channel ตามที่ต้องการ คลิกที่ UPDATE DIRECTADMIN ระบบจะดำเนินการอัปเดตเวอร์ชันของ DirectAdmin ที่เลือก เมื่อการอัปเดตเสร็จสิ้นแล้ว จะแสดงหน้าต่างแจ้งเตือนการรีเฟรชหน้าเว็บขึ้นมาใน 15 วินาที หรือคลิกที่ RELOAD NOW เพื่อรีเฟรชหน้าเว็บในทันที