ในกรณีที่ต้องการป้องกันการเสียหายของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจาก การลบที่ผิดพลาด การเขียนทับที่ผิดพลาด การอัปเดตที่ผิดพลาด การทำข้อมูลสูญหายที่เกิดจากความพลั้งเผลอหรือไม่ตั้งใจ โดยคุณสามารถทำการ backup ข้อมูลได้ตามคู่มือ วิธีการ backup ข้อมูลใน Plesk ดังนี้ 1. login เข้าใช้งาน Plesk โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตามด้วยพอร์ต 8443 เช่น yourdomain.com:8443 จากนั้นกรอก Username, Password และคลิกที่ Log In 2. คลิกที่เมนู Backup & Restore 3. เมื่อคลิกเข้ามาแล้ว คุณสามารถเลือกให้ backup ข้อมูลทันที หรือกำหนดช่วงเวลาให้ backup อัตโนมัติ วิธีที่ 1 backup ข้อมูลทันที 1.1 คลิกที่ Back Up 1.2 ในหน้า […]
วิธีการลบบัญชีอีเมลใน Plesk
สำหรับผู้ที่ใช้งาน control panel ของ Plesk สามารถลบบัญชีอีเมลที่ไม่ได้ใช้งานแล้วออกได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจาก login เข้าใช้งาน Plesk คลิกที่ Mail ติ๊ก √ ที่บัญชีอีเมลที่ต้องการลบ คลิกที่ Remove ระบบจะแสดงหน้าต่างยืนยันการลบบัญชีอีเมลที่เลือกขึ้นมา ให้คลิกที่ Yes, remove ระบบจะแจ้งว่าได้ลบบัญชีอีเมลดังกล่าวแล้ว
วิธีเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีผู้ใช้งานอีเมลใน Plesk
คุณสามารถที่จะเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีผู้ใช้งานอีเมล ใน control panel ของ Plesk ได้ตามคู่มือ วิธีเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีผู้ใช้งานอีเมลใน Plesk ดังนี้ 1. login เข้าใช้งาน Plesk โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ตามด้วยพอร์ต 8443 เช่น yourdomain.com:8443 จากนั้นกรอก Username, Password และคลิกที่ Log In 2. คลิกที่เมนู Mail 3. เลือกบัญชีอีเมลที่ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยคลิกที่ชื่อบัญชีที่ต้องการ 4. เปลี่ยนรหัสผ่านโดยแก้ไขที่ Password: ใส่รหัสผ่านใหม่ หรือต้องการให้ระบบสร้างรหัสผ่านให้อัตโนมัติให้คลิกที่ปุ่ม Generate หากต้องการแสดงรหัสผ่านให้คลิกที่ปุ่ม Show Confirm Password: ใส่รหัสผ่านใหม่ในช่อง New Password อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการยืนยันรหัสผ่าน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK 5. ระบบจะแจ้งให้ทราบว่าได้บันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว ดังภาพ
การสำรองข้อมูลในแต่ละบริการของ hostatom
สำหรับผู้ใช้งานกับทางโฮสอะตอม ทางเรามีบริการ Backup ให้นะคะ สามารถมั่นใจได้เลยว่าข้อมูลไม่หายอย่างแน่นอน โดยแต่ะละบริการมีการเก็บ Backup ดังนี้ บริการ Share Host สำหรับผู้ที่ใช้งานบริการ Web Hosting, WordPress Hosting และ Reseller Hosting ทางเรามี Backup ย้อนหลังให้ 21 วัน 21 ชุด โดย Backup ทั้งหมดนี้จะถูกเก็บไว้แยกออกมาต่างหาก ไม่เกี่ยวกับพื้นที่บริการที่ลูกค้าใช้งานอยู่ ซึ่งสามารถเลือกวันที่ต้องการ Backup ได้ บริการ Cloud VPS สำหรับบริการ Cloud นั้นถือว่าเป็น Server ส่วนตัว ทางเราจะมี Backup 1 ชุด คือทั้งหมดเลย พูดง่ายๆ คือรวมหมดเลย ไม่ว่าจะเป็น Database […]
วิธีการเช็คความเร็วหน้าเว็บไซต์ (Web Page Speed)
Page Speed คืออะไร Web Page Speed คือ ความเร็วของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งในที่นี้จะเป็นความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรือวิดีโอ โดยมีหน่วยความเร็วเป็นมิลลิวินาที ซึ่งผลการวิจัยของ Google บอกว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ไม่ควรเกิน 2 วินาที Page Speed จะเป็นการวัดคะแนน ของหน้าเว็บไซต์ ว่ามีความเร็วในการโหลดประมาณเท่าใด โดยคะแนนของ Page Speed จะอยู่ในช่วง 1-100 ยิ่งคะแนนมาก นั่นก็หมายถึงคุณออกแบบหน้าเว็บไซต์ได้ดี จากข้อมูลของ Google Mobile Page Speed พบว่า หากหน้าเว็บเพจใช้เวลาโหลดเกิน 5 วินาที โดยเฉลี่ยคนกว่า 90% จะเปลี่ยนไปเข้าหน้าเว็บเพจอื่นแทนโดยทาง Google ได้ทำการวิเคราะห์ โอกาสที่ผู้ใช้จะเปลี่ยนไปเว็บไซต์อื่นแทน (Bounce Rate) หากเว็บไซต์นั้นมีการโหลดนานเกินไป มีดังนี้ […]
การอ่านผลการวิเคราะห์ Google PageSpeed Insights
การอ่านผลการวิเคราะห์ Google PageSpeed Insights หลังจากที่เช็คความเร็วเว็บไซต์ที่ Google PageSpeed Insights แล้ว เรามาดูว่าผลวิเคราะห์ที่ออกมานั้นแต่ละค่าคืออะไรกันบ้าง เพื่อที่เราจะได้นำไปปรับปรุง แก้ไขให้เว็บไซต์ของเราดีขึ้น ก่อนเริ่มดูผลวิเคราะห์ อยากให้ทราบก่อนว่าหน่วยเวลาจากผลวิเคราห์ที่ได้จากการทดสอบนี้จะมีค่าหน่วยเป็น ms ย่อจาก millisecond และ s ย่อจาก second โดยเทียบได้ดังนี้ 1 s (วินาที) = 1000 ms (มิลลิวินาที) การอ่านผลการวิเคราะห์ Google PageSpeed Insights แบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ Performance Score Field Data Lab Data Opportunities Diagnostics 1. Performance Score เป็นคะแนนภาพรวมการทำงานของเว็บไซต์ คะแนนที่ได้นี้มาจาก Lighthouse โดยจะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลบนหน้า page […]
โหมดไม่ระบุตัวตน(Incognito Mode) คืออะไร
Incognito Mode หรือ โหมดไม่ระบุตัวตน คืออะไร Incognito Mode หรือ โหมดไม่ระบุตัวตน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นโหมดไม่ระบุตัวตน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเป็นการท่องเว็บโดยไม่ระบุตัวตนผู้ใช้งานนั่นเอง เมื่อคุณเปิดใช้งานในโหมดนี้ หน้าต่างที่เราเปิดจะไม่เก็บประวัติการท่องเว็บ คุกกี้ ข้อมูลเว็บไซต์ ข้อมูลที่เรากรอกลงบนแบบฟอร์มผ่านทางหน้าเว็บ หรือข้อมูลที่เราทำการ Login เข้าสู่ระบบตามหน้าเว็บไซต์ต่างๆ จะไม่ถูกเก็บ Incognito Mode นี้จะเหมาะกับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น หรือคอมพิวเตอร์สาธารณะ และผู้ที่ไม่ต้องการเก็บประวัติการใช้งานบน Browser วิธีการเปิดใช้งาน Incognito Mode หรือโหมดไม่ระบุตัวตนในแต่ละ Browser Google Chrome (Incognito Mode) Firefox (Private Window) Microsoft Edge (InPrivate Windows) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode) แม้ว่า Incognito Mode นี้จะไม่เก็บข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ของเราแล้ว […]
ขนาดของแบนเนอร์มาตรฐานทั้งเว็บไซต์และมือถือ (Banner Sizes)
หากจะทำการตลาดบนเว็บไซต์ แบนเนอร์ (ฺBanner) ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คนรู้จักเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งแบนเนอร์ที่อยู่ตามหน้าเว็บไซต์ก็มีหลากหลายขนาด และตำแหน่งที่วางบนเว็บไซต์ก็แตกต่างกันไปนะ บทความนี้จะอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญ และขนาดยอดนิยมของแบนเนอร์ให้ทุกรู้และนำไปปรับใช้กับงานของคุณได้อย่างแน่นอน แบนเนอร์ (Banner) คืออะไร แบนเนอร์เว็บไซต์ (Website Banner) คือ รูปภาพที่แปะอยู่ในเว็บไซต์ โดยจะอยู่ในตำแหน่งด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง หรือระหว่างคอนเทนต์หลักของหน้าเพจ ซึ่งอาจเป็นทั้งคอนเทนต์ประชาสัมพันธ์บนเว็บที่สามารถคลิกต่อไปหน้าอื่นได้ หรือจะเป็นประกาศโปรโมชัน (เช่น โปรโมตสินค้า หรือชวนใช้สิทธิ์ตามแคมเปญ) หรือเป็นแบนเนอร์โฆษณาของเว็บไซต์อื่นที่ซื้อโฆษณาไว้ ประโยชน์จากแบนเนอร์ แบนเนอร์จะช่วยสร้างการรับรู้และจดจำภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะสามารถกระตุ้นยอดขายให้สูงขึ้นด้วย แบนเนอร์ที่ดีควรเป็นอย่างไร การที่จะทำให้แบนเนอร์มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดีจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับหน้าเว็บไซต์ และสำคัญที่สุดคือ รูปต้องชัด รายละเอียดและข้อความต้องโดนใจ มองแล้วรู้เลยว่าสินค้าหรือแบรนด์ของเรานั้นคืออะไร แบนเนอร์ที่ดีควรมีขนาดเท่าไหร่ ขนาดของแบนเนอร์มีทั้งสำหรับแสดงผลบนคอมพิวเตอร์และมือถือ ซึ่งความกว้าง ความยาว และความสูงก็จะแตกต่างกันไปตามหน้าจอที่แสดงผล รวมไปถึง Theme ที่ใช้ในการทำเว็บด้วย ดังนั้นต้องดูให้ดีว่า Theme ที่ใช้งานอยู่นั้นรองรับแบนเนอร์ไหม หากรองรับแล้ว […]
ทำไมแฮกเกอร์ถึงขโมยรหัสผ่านเราได้
สงสัยไหมว่า ทำไมเว็บ อีเมล หรือบริการอื่นๆ ถึงถูกแฮกเกอร์ถอดรหัสผ่านเว็บได้ รหัสผ่านที่สร้างไว้ต้องง่ายแค่ไหน แฮกเกอร์ถึงได้รหัสผ่านไปได้ งั้นมาดูกันว่า เว็บที่จะถูกแฮกได้นั้นมีการจัดการรหัสผ่านอย่างไร ถึงทำให้แฮกเกอร์ขโมยรหัสผ่านได้ ไม่ยอมใช้ Password Manager ผู้ใช้บางคนขี้เกียจจำรหัสผ่านเยอะ เลยใช้รหัสผ่านอันเดียวกับหลายๆ บริการ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล โซเชียลมีเดียต่างๆ หรือรหัสผ่านหลังบ้านเว็บ ก็อันเดียวใช้เหมือนกันหมด ซึ่งถ้าแฮกเกอร์รู้รหัสผ่านนะ สบายเลย หรือบางคนขี้เกียจตั้งยากๆ กลัวจำไม่ได้ เลยเอาง่ายๆ เช่น acd123, asdf123, ชื่อตัวเอง, วันเกิดตัวเอง เป็นต้น แฮกเกอร์เจอแบบนี้ก็หวานหมูเลย เพื่อขจัดปัญหานี้ ใช้ตัวช่วยเถอะ เค้ามีโปรแกรมช่วยจัดการรหัสผ่านให้ ไม่ว่าจะเป็น LastPass, Dashlane, 1Password, และ KeePassX แต่ละโปรแกรมเค้ามีการตั้งค่าให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ บอกรหัสผ่านกับคนอื่น อย่าบอกรหัสผ่านให้คนอื่นรู้เชียว เพราะเราไม่รู้ว่าเค้าจะเอารหัสผ่านเราไปใช้ทำอะไรบ้าง ผู้ใช้หลายคนคิดแค่ว่าไม่เป็นไรหรอก ใช้อันเดียวกันนี่แหละง่ายดี เพราะแบบนี้แฮกเกอร์ถึงขโมยข้อมูลหรือแฮกเข้าเว็บคุณได้อย่างง่ายๆ สบายเลย สำหรับผู้พัฒนาเว็บ […]
วิธีสร้าง User Admin เพิ่มใน WordPress
สำหรับ Admin ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างแอดมินเพิ่มขึ้นมาอีกเพื่อช่วยในการบริการจัดการเว็บไซต์ได้ โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ Login เข้าสู่ WordPress ของคุณโดยพิมพ์ ชื่อโดเมนของคุณ/wp-admin ยกตัวอย่างเช่นโดเมนคุณชื่อ yourdomain.com ก็ให้คุณพิมพ์ yourdomain.com//wp-admin ใส่ Username และรหัสผ่าน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Login ที่หน้า Dashboard ให้คลิกที่ Users => Add New ใส่รายละเอียดดังนี้– Username: ชื่อผู้ใช้งาน– Password: รหัสผ่าน (อันนี้จะกำหนดเอง หรือจะให้ระบบสร้างให้อัตโนมัติก็ได้)– Email: ใส่อีเมล– Role: ระดับสิทธิ์ผู้ใช้ หากต้องการให้มีสิทธิ์เทียบเท่าแอดมินให้เลือกเป็น Administrator จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Add New User ระบบจะสร้างผู้ใช้ใหม่ดังภาพ