การเปลี่ยน URL ส่งผลกระทบกับ SEO อย่างไร

หลังจากที่ทาง Google มีการปรับเปลี่ยนวิธีการวัด SEO วันนี้เรามาดูกันว่าหากมีการเปลี่ยน URL ของเว็บแล้วจะส่งผลต่อ SEO อย่างไรบ้าง

โดยอ้างอิงจากเอกสารฉบับล่าสุดของ Google ในหัวข้อ Redirects and Google Search ถึงการเปลี่ยน URL แบบต่างๆ และผลกระทบต่อการค้นหา เรามาดูกันเลย ว่ามีอะไรบ้าง

แต่ทีนี้ก่อนที่จะไปดูว่าประเภทของการเปลี่ยนเส้นทางและผลกระทบมีอะไรบ้าง เราต้องบอกก่อนว่า ผู้เข้าชมไม่สามารถตรวจสอบความแตกต่างของเส้นทางหรือ URL ด้วยตัวเองได้ แต่ Google มีวิธีการจัดการกับสัญญาณที่ส่งไป URL เป้าหมายแตกต่างกันไป

โดย Google จะแบ่งการเปลี่ยนเส้นทางออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เส้นทางชั่วคราวและเส้นทางถาวร

  • เส้นทางถาวร: Google จะมองว่าเส้นทางนี้มีสัญญาณที่ชัดเจน ดังนั้น URL เป้าหมายจะแสดงผลในหน้าค้นหาทันที
  • เส้นทางชั่วคราว: Google จะมองว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สัญญาณอ่อนกว่า ดังนั้น URL เป้าหมายจะไม่แสดงผลในหน้าค้นหา แต่จะแสดงแหล่งที่มา (Source Page) แทน

ประเภทของการเปลี่ยนเส้นทางมีดังนี้

  • การเปลี่ยนเส้นทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ถาวร (Permanent server side redirects)
    วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ทาง Google แนะนำให้ใช้ทุกครั้ง (ถ้าเป็นไปได้) เพราะการเปลี่ยนการแบบนี้จะส่งผลให้ URL แสดงผลในหน้าค้นหา ซึ่งถ้ารหัสสถานะ หรือ Status Codes แสดงเป็น 301 หรือ 308 นั่นหมายถึง เว็บไซต์นั้นถูกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งใหม่อย่างถาวร
  • การเปลี่ยนเส้นทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ชั่วคราว (Temporary server side redirects)
    การเปลี่ยนเส้นทางแบบจะส่งผู้ชมไปหน้าเพจอื่นชั่วคราว ซึ่ง Google ได้จดจำ URL ของหน้าเพจเก่าไว้แล้ว ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่าไม่ไปผิดหน้าแน่ๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากหน้าเพจของคุณในตอนนี้ยังพร้อมที่จะแสดง คุณก็สามารถตั้งค่าการเปลี่ยนเส้นทางชั่วคราวไปยังหน้าเพจอื่นก่อน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน URL ของหน้าเพจนั้นเลย
  • การ Redirect Meta Refresh โดยทันที (Instant meta refresh redirect)
    ในกรณีที่ไม่สามรถเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้ วิธีการเปลี่ยนเส้นทางแบบ Redirect Meta Refresh นี้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเมืี่อมีการโหลดหน้าเพจบนเบราว์เซอร์ Google Search จะเข้าใจได้ทันทีว่า การเปลี่ยนเส้นทาง Meta Refresh นี้เป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร (Permanent redirects)
<!doctype html>
<html>
  <head>
  <meta http-equiv="refresh" content="0; url=https://example.com/newlocation" />
  <title>Example title</title>
  <!--...-->
  • การ Redirect Meta Refresh ภายหลัง (Delayed meta refresh redirect)
    วิธีนี้เจ้าของเว็บเท่านั้นที่จะสามารถทำได้ โดยจะกำหนดระยะเวลา (เป็นวินาที) ในการเปลี่ยนเส้นทาง โดย Google Search จะเข้าใจว่าการเปลี่ยนเส้นทาง Meta Refresh ภายหลังนี้เป็นการเปลี่ยนเส้นทางแบบชั่วคราว ซึ่งหากต้องการกำหนดระยะเวลา ก็ให้ไปใส่ตัวเลขที่ content
<!doctype html>
<html>
  <head>
  <meta http-equiv="refresh" content="5; url=https://example.com/newlocation" />
  <title>Example title</title>
  <!--...-->
  • การ Redirect ด้วย JavaScript (JavaScript location redirects)
    เมื่อมี Google Bot ทำการไต่และเก็บข้อมูล URL ของเว็บไปเรียบร้อยแล้ว Google Search จะเข้าใจและรัน JavaScript โดยใช้บริการ Web Rendering Service ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนเส้นทางด้วย JavaScript นี้จะต้องตั้งค่า URL ในส่วน head ดังตัวอย่าง
<!doctype html>
<html>
  <head>
    <script>
      window.location.href('http://www.example.com/newlocation')
    </script>
    <title>Example title</title>
    <!--...-->

แต่ขอเตือนไว้ก่อนนะคะ การเปลี่ยนเส้นทางด้วย JavaScript นี้จะไม่สามารถทำได้ในฝั่งเซิร์ฟเวอร์หรือใน meta refresh redirect ได้ถึงแม้ว่า Google จะพยายามแสดงผล URL ในหน้าเพจที่ Google Bot ได้ไต่ไปเก็บข้อมูลมาแล้วก็ตาม แต่การแสดงผลนั้นอาจจะไม่สำเร็จก็ได้

  • การเปลี่ยนเส้นทางแบบเข้ารหัส (Crypto redirects)
    วิธีนี้จะใช้เมื่อไม่สามารถทำการเปลี่ยนเส้นทางด้วยวิธีที่กล่าวด้านบนได้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการเพิ่มลิงก์โดยชี้ไปยังหน้าเว็บเพจใหม่พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ตัวอย่างเช่น
<a href="https://newsite.example.com/newpage.html">We moved! Find the content on our new site!</a>

แต่วิธีนี้แนะนำให้ใช้ก็ต่อเมื่อหมดหนทางแล้วจริงๆ ไม่รู้จะใช้วิธีไหนแล้ว ค่อยใช้วิธีนี้แทน

การเลือกเปลี่ยนเส้นทางนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและหน้าเพจที่คุณต้องการจะให้แสดงในหน้าผลการค้นหา สิ่งเหล่านี้มีผลกับการทำ SEO ทั้งสิ้น

Was this article helpful?

Related Articles