Sitemap คืออะไร? เราต้องใช้มั้ย?

What is Sitemap

Sitemap คืออะไร?

Sitemap นั้นจะช่วยให้ Google เข้าใจแผนผังเว็บไซต์ของคุณ แต่จริง ๆ แล้ว Sitemap มันหมายความว่ายังไงกันแน่? คุณต้องใช้มั้ย? จะหาได้ที่ไหน? และจะสร้างยังไง? มาดูกันว่า Sitemap ไหนเหมาะสมกับคุณมากที่สุดกัน!

การกำหนด Sitemap มีความสำคัญด้วยกันหลายข้อ ซึ่งเราจะเน้นไปที่ 2 ประเภทหลัก ๆ ที่ใช้ในการทำ SEO คือ XML และ HTML Sitemap

XML Sitemap

XML Sitemap เป็นไฟล์ที่มีวิดีโอ และไฟล์สำคัญอื่น ๆ ของเว็บไซต์เพื่อช่วยให้ Google ค้นเจอในขณะที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแสดงอยู่ในไฟล์เท่านั้น แต่ Sitemap ยังสามารถให้รายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ Google ทราบได้ เช่น เวลาที่อัปเดตหน้าเพจครั้งล่าสุด และรายละเอียดว่าคอนเทนต์นั้น ๆ มีบริการในภาษาอื่นหรือไม่

ตามที่ได้บอกไป คุณยังสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของคอนเทนต์ เช่น วิดีโอ, รูปภาพ หรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับข่าว ซึ่งสามารถรวมคอนเทนต์เฉพาะประเภทใน Sitemap ได้ดังนี้ :

  • Video Sitemap สามารถระบุเวลาเล่นวิดีโอ, เรตติ้ง และกำหนดความเหมาะสมของช่วงอายุ
  • Image Sitemap สามารถระบุตำแหน่งของรูปภาพที่อยู่บนหน้าเพจ
  • News Sitemap สามารถรวมชื่อบทความ ข่าว และวันที่เผยแพร่ได้

ต่อไปเรามาพูดถึง HTML Sitemap และความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวนี้กัน

HTML Sitemap

HTML Sitemap เหมาะสำหรับผู้ใช้เว็บไซต์มากกว่า Google เพราะมันช่วยให้ผู้ใช้เรียกดูเว็บไซต์และค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ ซึ่งมันคือหน้าเพจที่อยู่ในเว็บไซต์และมีลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เหมือนสารบัญนั่นเอง และในบางครั้งอาจมีข้อความบรรยายเพิ่มเติมว่าหน้าเหล่านั้นคืออะไรอีกด้วย

XML Sitemap Vs. HTML Sitemap

แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่าง Sitemap 2 ตัวนี้ล่ะ? มาดูกันเลย

XML

  • จุดประสงค์หลักมีไว้สำหรับ Google และ Bot อื่น ๆ
  • ไม่มีการเรียงลำดับชั้น
  • ใช้ในการจัดทำ Index เป็นหลัก
  • สามารถส่งผ่านทางเครื่องมือ Google Webmaster ได้

HTML

  • ทำขึ้นมาเพื่อผู้ใช้โดยเฉพาะ
  • มีการเรียงลำดับชั้น
  • ไม่สามารถส่งผ่านเครื่องมือ Google Webmaster ได้

ถึงตอนนี้คุณอาจสงสัยว่าจะสร้าง 2 สิ่งนี้ยังไงได้บ้าง งั้นมาดูวิธีสร้างไฟล์และตำแหน่งที่จะวางไฟล์เหล่านี้บนเว็บไซต์กัน

วิธีสร้าง XML Sitemap

XML Sitemap มีเกณฑ์เฉพาะในการแสดงผล ข้างล่างคือข้อกำหนดเบื้องต้นของ XML Sitemap ได้แก่

  • เริ่มต้นด้วย tag <urlset> และปิด tag นั้นด้วย </urlset>
  • รวมโปรโตคอลที่ใช้ภายใน tag <urlset>
  • URL แต่ละอันต้องมี tag <url> ที่เป็น parent XML tag
  • รวม child tag <loc> สำหรับแต่ละ parent tag <url>
  • Sitemap นั้นสามารถมี URL ได้สูงสุด 50,000 เว็บ และมีขนาดไม่เกิน 50MB
  • ต้องเข้ารหัส UTF

ต่อไปมาดูแนวทางในการสร้าง XML Sitemap กัน

  • ควรมีเฉพาะ URL ที่คุณต้องการจะ Index เท่านั้นที่อยู่ใน Sitemap เพราะจะไม่มีการสร้าง XML Sitemap หน้าเพจที่ไม่ได้จัดทำ Index และหน้าเพจที่เป็น Non-canonical
  • ห้ามใช้รหัส session
  • ถ้าคุณมีสองเวอร์ชัน (มือถือและเดสก์ท็อป) ให้ระบุเฉพาะเวอร์ชันที่ต้องการให้เป็นเว็บไซต์หลัก
  • รวบรวมเนื้อหาสื่อ เช่น วิดีโอ รูปภาพ และข่าว
  • ใช้งาน hreflang เพื่อให้ Google เห็นว่าเว็บไซต์ของคุณมีเวอร์ชันภาษาอื่น
  • ใน Google documentation ระบุว่าสามารถใช้ประโยชน์จาก tag <lastmod> ถ้ามีความสอดคล้องกันและตรวจสอบได้ แต่ถ้าคุณไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ ขอแนะนำว่าไม่ควรใช้
  • Google ไม่สนใจ tag <priority> และ <changefreq>
  • Google จะไม่รวม URL ของคุณตามรายการที่ระบุไว้ และไม่รับรองการจัดทำ Index
  • ควรอัปเดต Sitemap เป็นประจำ ไม่อย่างนั้น Google อาจไม่ไว้วางใจเว็บไซต์ของคุณ

วิธีสร้าง HTML Sitemap

เมื่อรวบรวม HTML Sitemap แล้ว อย่าลืมนะ ว่าจุดประสงค์หลักคือเพื่อผู้ใช้เว็บไซต์และการช่วยให้ Google เข้าใจลำดับชั้นของเว็บไซต์ ซึ่งในหน้าเพจนี้คุณไม่จำเป็นต้องจัดทำ Index แต่คุณต้องแน่ใจว่าไม่ได้ใส่ลิงก์เป็นพัน ๆ ลิงก์ใน HTML Sitemap เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรเลยต่อ Bot

ต่อไปมาดูแนวทางในการสร้าง HTML Sitemap กัน

  • ควรจัดโครงสร้างของหน้าให้สอดคล้องกับเว็บไซต์ เรียบร้อย และง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  • HTML Sitemap ควรอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ใช้สามารถหาได้ง่าย และส่วนมากจะอยู่ในส่วนท้ายของเว็บไซต์
  • ใช้ Anchor text ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้

เครื่องมือ Sitemap Generator

เรามีเครื่องมือมากมายที่จะช่วยคุณสร้าง Sitemap ประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้

เครื่องมือ XML Sitemap Generator

  • Screaming Frog เครื่องมือนี้เป็นตัวเลือกที่ดีในการสร้าง Sitemap โดยเฉพาะถ้าคุณต้องการจะสร้างหลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูล URL แล้ว ซึ่งสามารถใช้ได้ฟรีหากคุณมี URL น้อยกว่า 1,000 รายการ แต่ถ้ามีมากกว่านั้นจะต้องเสียเงินค่า License
  • XML-Sitemaps.com เป็นแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ที่ให้คุณป้อน URL ของเว็บไซต์และจะสร้างไฟล์ XML ออกมาให้ สามารถใช้งานได้ฟรีสำหรับ URL สูงสุด 500 รายการ

ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ Content Management System (CMS) ที่คุณใช้ นอกจากนี้ยังมีปลั๊กอิน XML Sitemap Generator อีกกว่า 1,000 รายการ แต่เครื่องมือพวกนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบผลลัพธ์อีกครั้งด้วยนะ

รายชื่อต่อไปนี้คือ ปลั๊กอิน XML Sitemap สำหรับ WordPress ดังนี้ :

เครื่องมือ HTML Sitemap Generator

  • com : ตัวนี้เป็นเครื่องมือออนไลน์ฟรี ที่สามารถสแกน URL เว็บไซต์ หรือ อัปโหลดเอกสารเพื่อสร้าง HTML Sitemap
  • Crawler : ถ้าคุณมีเว็บไซต์ที่ใหญ่และใช้ Crawler อย่างพวก OnCrawlDeepCrawl, Screaming Frog หรือ SiteBulb คุณสามารถใช้ประโยชน์ของ Crawl เพื่อสร้าง HTML Sitemap ได้

และ เช่นเดียวกันก็มีปลั๊กอิน CMS หลายตัวในการสร้าง HTML Sitemap สำหรับ WordPress ดังนี้ :

สรุปเราจำเป็นต้องใช้ Sitemap มั้ย?

เรามีคำถามไม่กี่ข้อที่จะถามเพื่อให้คุณตัดสินใจว่าควรใช้ XML Sitemap ดีหรือไม่ ก่อนอื่นเรามาคุยเกี่ยวกับ XML Sitemap กันก่อน ดังนี้ :

  • เว็บไซต์ของคุณใหญ่ขนาดไหน? มีขนาดใหญ่พอที่ Google จะพลาดเนื้อหาอัปเดตใหม่ ๆ เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลหรือไม่?
  • เว็บไซต์ของคุณค่อนข้างใหม่หรือไม่? ถ้าเป็นอย่างนั้น อาจมี External link จำนวนมากที่ Google พลาดไป แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้เป็นเว็บไซต์ใหม่และคุณไม่ได้มี External link คำตอบสำหรับคำถามนี้ควรเป็น ใช่
  • เว็บไซต์ของคุณมีคอนเทนต์เยอะใช่หรือไม่? มีทั้งรูปภาพ วิดีโอ และคอนเทนต์ข่าว หรืออื่น ๆ
  • คุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณมีแผนผังที่ดีขึ้นที่จะทำให้หน้าต่าง ๆ เชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้นหรือไม่? อาจใช้กับหน้าเพจที่อยากจัดเก็บถาวรและหน้าเพจที่ไม่ได้ใช้งาน

ถ้าคุณตอบใช่ในทุก ๆ คำถามแล้วล่ะก็ ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือการใช้ XML Sitemap เพราะในอนาคตหากเว็บไซต์ของคุณเติบโตขึ้น สิ่งนี้ก็จะมีประโยชน์กับคุณมาก ๆ เลยล่ะ

ส่วน HTML Sitemap เป็นอะไรที่รู้กันดีว่าเป็นคอนเซ็ปต์ที่เก่ากว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรใช้นะ เพราะการรวม HTML Sitemap จะช่วยให้ Google เข้าใจแผนผังและความสัมพันธ์ของเว็บไซต์ได้ดีขึ้น ซึ่งมีประโยชน์มากกับเว็บไซต์ที่มีจำนวนหน้าเยอะ ๆ แต่มันก็ยังไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดหากเว็บไซต์มีแผนผังที่ไม่ดีและซ้อนกันเยอะเกินไป แต่ยังไงการใช้ Sitemap เหล่านี้ก็มีข้อดีมากกว่าข้อเสียแน่นอน

สรุปแล้ว Sitemap มีอยู่ในโลกของ SEO มาระยะนึงแล้ว โดยมันช่วยให้ Search Engine ค้นพบและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ แต่การใช้ Sitemap ก็ไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกเว็บไซต์ ถึงอย่างนั้นเราก็หวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ในการตัดสินใจว่าอะไรเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณที่สุด

Was this article helpful?

Related Articles